บทวิเคราะห์ USD/JPY 28 กันยายน 2567

Create at 2 weeks ago (Sep 28, 2024 01:02)

อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของ BoJ อีกครั้ง

ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง หลังจากอ่อนค่าลงในช่วงก่อนหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากที่ชิเงรุ อิชิบะ อดีตรัฐมนตรีกลาโหมที่ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรครัฐบาลของญี่ปุ่น ส่งผลให้เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป โดย ชิเงรุ อิชิบะ มีแนวโน้มที่จะใช้การสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายการคลังแบบขยายตัว เช่น การเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจหรือการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้ GDP เพิ่มมากขึ้น


ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของโตเกียวในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกันยายน ถือว่าเป็นการกลับมาชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วจากการเติบโต 2.4% ในเดือนสิงหาคม โดยตัวเลขล่าสุดยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ 2% โดยรายงานการประชุมครั้งล่าสุดเผยให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายบางคนยังคงต้องการให้เฝ้าระวังความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อและได้ส่งสัญญาณเตือนไม่ให้สร้างความคาดหวังของตลาดมากเกินไปเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต


ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางคาซูโอะ อูเอดะ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาดแรงงานในตอนนี้ว่าพฤติกรรมการกำหนดค่าจ้างของบริษัทต่างๆ รวมถึงการปรับขึ้นค่าจ้างอาจจะยังคงเกิดขึ้นในปีต่อๆ ไป ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจมหภาคยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น เช่น การขาดแคลนแรงงานและผลกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นยังคงอยู่ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน


ดัชนี PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นลดลงเหลือ 49.6 แสดงให้เห็นถึงการหดตัวของกิจกรรมภาคการผลิต โดยผลผลิตที่สามารถหดตัวลงเล็กน้อย ในขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ยังคงลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องเพิ่มสต็อกสินค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ในด้านอัตราเงินเฟ้อของราคาวัตถุดิบลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไม่เพิ่มขึ้นมากนัก


ด้าน PMI ภาคบริการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นแตะระดับ 53.9 นับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่ภาคบริการยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์จากภายนอกที่แข็งแกร่ง ซึ่งดูได้จากคำสั่งซื้อใหม่ที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นทำให้บริษัทต่างๆ เริ่มหาวิธีที่จะส่งต่อภาระต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับลูกค้า


อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นมาอยุ่ที่ 0.85% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นเพื่อจำกัดความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อ ในขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจ่างเอื้อให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีโอกาศที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 143.36, 144.2, 144.63

แนวรับสำคัญ: 142.09, 141.66, 140.82

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 141.66 - 142.09 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 142.09 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.2 และ SL ที่ประมาณ 140.82 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 143.36 - 144.2 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.63 และ SL ที่ประมาณ 141.66 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 143.36 - 144.2 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 143.36 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.66 และ SL ที่ประมาณ 144.63 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 141.66 - 142.09 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 140.82 และ SL ที่ประมาณ 144.2 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 28 กันยายน 2567 00:58 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 140.82 141.66 142.09 142.93 143.36 144.2 144.63
Fibonacci 141.66 142.15 142.44 142.93 143.42 143.71 144.2
Camarilla 142.18 142.3 142.41 142.93 142.65 142.76 142.88
Woodie's 140.62 141.56 141.89 142.83 143.16 144.1 144.43
DeMark's - - 141.88 142.82 143.15 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES