เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”
Create at 1 year ago (Oct 20, 2022 12:42)

เมื่อสกุลเงินหนึ่งแข็งค่า ก็ย่อมมีอีกสกุลหนึ่งอ่อนค่า นับเป็นเรื่องสามัญที่ทุกคนรู้ แต่เงินแข็งค่า - อ่อนค่า คืออะไร? ส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจ ตลาด นักลงทุน และประชาชนทั่วไป ทำไมทุกคนถึงต้องรู้นั้น วันนี้ทีมงาน Fxtoday จะพาทุกท่านไปติดตาม และค้นหาคำตอบครับ

 

เงิน คืออะไร?

อันดับแรก เราขออธิบายก่อนว่า “เงิน” คืออะไร? โดยความหมายที่แท้จริงของเงิน คือ สื่อกลางที่ถูกยอมรับเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมถึงใช้ชำระหนี้ในทางกฎหมาย ซึ่งค่าของเงินนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามกลไกตลาด ไม่มีสกุลเงินใดหลีกเลี่ยงและฝืนธรรมชาตินั้นได้

 

ค่าเงิน คืออะไร? 

ค่าเงิน” หรืออัตราแลกเปลี่ยน คือ ค่าของสกุลเงินนั้น ๆ ที่ได้รับ เมื่อทำการแลกเปลี่ยนกับเงินอีกสกุลหนึ่ง โดยสกุลเงินที่ถูกใช้แลกเปลี่ยนมากที่สุด คือ “ดอลลาร์สหรัฐ” ดังนั้น หากเงินฝั่งหนึ่งแข็งค่า อีกฝั่งก็จะอ่อนค่า ซึ่งสภาวะของค่าเงินนี้จะส่งผลต่อจำนวนเงินที่ได้รับ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจและการลงทุน

 

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

 

ตัวอย่างเช่น หาก USD แข็งค่า THB ก็จะอ่อนค่า ดังนั้น เมื่อ 1 USD มีค่าเท่ากับ 38 THB นั่นหมายความว่า เราต้องใช้เงิน THB มากขึ้นในการแลกเปลี่ยน ทำให้เงิน THB มีค่าน้อยลงนั่นเอง

ในทำนองเดียวกัน หาก USD อ่อนค่า THB ก็จะแข็งค่าขึ้น ดังนั้น USD ก็จะมีค่าน้อยลง เช่น 1 USD เท่ากับ 33 THB นั่นหมายความว่า เราจะใช้เงิน THB น้อยลงในการแลกเปลี่ยน ทำให้เงิน THB มีค่ามากขึ้นนั่นเอง

หากจะอธิบายง่าย ๆ “เงินอ่อนค่า” ก็คือ สกุลเงินนั้นมีค่าน้อยลง เมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง ส่วน “เงินแข็งค่า” คือ สกุลเงินนั้นมีค่ามากขึ้น เมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงิน

ปัจจัยที่ส่งต่อการเคลื่อนที่ของค่าเงินหลัก ๆ จะเป็น “อุปสงค์ - อุปทาน” หรือที่เราเรียกกันว่า ความต้องการซื้อ และความต้องการขาย แต่อย่างไรก็ดี อุปสงค์และอุปทานสามารถกำหนดได้จากปัจจัยเหล่านี้ คือ