เงินเยนยังคงอ่อนค่า ขณะที่ความท้าทายทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้น
เงินเยนยังคงซื้อขายในกรอบต่ำ เนื่องจากความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรญี่ปุ่นและพันธบัตรของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการขายสกุลเงินญี่ปุ่น หลังจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ได้กระตุ้นให้เกิดการซื้อเงินเยนจำนวนมาก ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าอาจได้รับการเข้าแทรกแซงจาก BOJ และกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น
ทั้งนี้ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2024 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อและค่าจ้างที่ซบเซา ควบคู่ไปกับการใช้จ่ายด้านทุนที่ลดลง ก่อให้เกิดความท้าทายสำหรับผู้กำหนดนโยบายหลังจากตั้งเป้าที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับใกล้ศูนย์ในปัจจุบัน
โดย GDP ลดลง 0.5% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากการบริโภคภาคเอกชนและรายจ่ายฝ่ายทุนที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งตัวเลข GDP ที่อ่อนแอได้บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของกลไกการเติบโตของญี่ปุ่นขณะกำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อและนโยบายการเงินที่ไม่แน่นอน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าอัตราค่าจ้างคาดว่าจะถูกปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 แต่ผลลัพธ์ในการกระตุ้นการบริโภคยังคงความไม่แน่นอน จากอัตราเงินเฟ้อที่หนืดและเงินเยนที่อ่อนค่าที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่าย หลังจากค่าเงินแตะระดับต่ำสุดในรอบหลายปีอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 ในปี 2024 ซึ่งความอ่อนแอทางเศรษฐกิจได้สร้างข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการในการกระชับนโยบายของ BOJ ท่ามกลางแผนเพิ่มค่าจ้างและการลดภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนในการกระตุ้นการบริโภค
อีกด้าน พบการสนับสนุนทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยคัตสึโนบุ คาโตะ อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสมาชิกผู้มีประสบการณ์ของพรรครัฐบาล ชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนไปสู่ยุคที่ราคาและค่าจ้างสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นการสนับสนุนการปรับนโยบายการเงินให้เป็นปกติ โดยคาโตะรับทราบถึงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของเงินเยนที่อ่อนค่าต่ออัตราเงินเฟ้อ และเน้นย้ำถึงการที่พรรครัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดการกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เช่น บริษัทต่างๆ ที่ย้ายการผลิตไปต่างประเทศ ได้ลดผลกระทบของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าต่อการส่งออก สร้างความพยายามในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ในขณะเดียวกัน แม้ว่าค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงในช่วงข้ามคืนเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ แต่ก็ยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนในวันพุธ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนที่แล้ว หลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนมีนาคมและกุมภาพันธ์ ขณะที่การเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปีที่ 3.6% ถือเป็นระดับที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2021 และในทางตรงกันข้าม ราคาผู้ผลิตในสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นเกินคาดในเดือนเมษายน ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่ในไตรมาสที่สอง
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์แนะนำว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ เช่น ประกันภัยรถยนต์ ที่อยู่อาศัย และการรักษาพยาบาล กำลังไล่ตามต้นทุนที่สูงขึ้น ท่ามกลางความคาดหวังที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงในไตรมาสนี้ และค่อยๆ สอดคล้องกับเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลังจากที่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงอีกครั้งในช่วงต้นไตรมาสที่สอง ในขณะที่ตลาดแรงงานเย็นตัวลง
ทางด้านประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ แสดงมุมมองในแง่ดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยคาดการณ์ถึงการเติบโตที่สูงกว่าแนวโน้มอย่างต่อเนื่องและความเชื่อมั่นต่ออัตราเงินเฟ้อที่ลดลง อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดการณ์ว่าวงจรผ่อนคลายที่เป็นไปได้จะเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมหรือธันวาคม จึงอาจส่งผลให้เงินเยนอาจแข็งค่าขึ้นได้บ้างเล็กน้อยในช่วงนี้ ขณะที่ในระยะยาว คาดว่าจะยังคงความอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 154.14, 154.26, 154.46
แนวรับสำคัญ : 153.76, 153.64 , 153.44
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 153.41 – 153.76 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 153.76 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.28 และ SL ที่ประมาณ 153.24 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 154.14 – 154.49 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.90 และ SL ที่ประมาณ 153.59 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 154.14 – 154.49 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 154.14 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 153.76 และ SL ที่ประมาณ 154.66 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 153.41 – 153.76 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 153.30 และ SL ที่ประมาณ 154.31 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points May 16, 2024 09:54AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 153.27 | 153.44 | 153.77 | 153.95 | 154.28 | 154.46 | 154.79 |
Fibonacci | 153.44 | 153.64 | 153.76 | 153.95 | 154.14 | 154.26 | 154.46 |
Camarilla | 153.96 | 154 | 154.05 | 153.95 | 154.14 | 154.19 | 154.23 |
Woodie's | 153.33 | 153.47 | 153.83 | 153.98 | 154.34 | 154.49 | 154.85 |
DeMark's | - | - | 153.86 | 153.99 | 154.36 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ