บทวิเคราะห์ USD/EUR 23 กุมภาพันธ์ 2567

Create at 2 months ago (Feb 23, 2024 19:08)

เศรษฐกิจของยูโรโซนเริ่มฟื้นตัวได้ช้าลง

เงินยูโรกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ 0.92 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากแข็งค่าขึ้นในสัปดาห์นี้ เนื่องจากนักลงทุนลดความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางยุโรปในปีนี้ นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจต่างๆ ของยูโรโซนเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกและการปรับขึ้นค่าจ้างที่ลดลง

 

การเติบโตของค่าจ้างชะลอตัวลงเป็น 4.5% เมื่อเทียบเป็นไตรมาสในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 ซึ่งลดลงจากการเพิ่มขึ้นที่ 4.7% ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ECB ในปีก่อนหน้า เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนด้านแรงงานของแต่ละบริษัทเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายของ ECB ได้ใช้การเติบโตของค่าจ้างเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาว่าเมื่อใดควรปรับอัตราดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนจับตาดูการเติบโตของค่าจ้างในไตรมาสแรกของปี 2024 เป็นพิเศษ

 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ คริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB ได้ให้ความคิดเห็นเรื่องตลาดแรงงานและการขึ้นค่าจ้างว่า "ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ราคาสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น นับเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสต่อๆ ไป" อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายของ ECB ยังไม่ด่วนตัดสินใจเชิงนโยบายใดๆ จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมายที่ 2% นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงเหลือ 2.7% ในปี 2024 จาก 3.2% และ 2.2% ในปี 2025 จากราคาพลังงานที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

 

ดุลบัญชีเดินสะพัดมีการเกินดุลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 42.66 พันล้านยูโรในเดือนธันวาคม 2023 จาก 16.62 พันล้านยูโรในปีก่อนหน้า โดยที่ดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็น 36 พันล้านยูโรจาก 10 พันล้านยูโร และดุลบริการเพิ่มขึ้นเป็น 12.1 พันล้านยูโร จาก 10 พันล้านยูโร แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในยูโรโซนจะเพิ่มขึ้นแต่การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคของเยอรมนีอาจทำให้ดุลการค้าหรือดุลบริการเริ่มชะลอตัวลงในปีนี้

 

ยูโรโซนเกินดุลการค้า 16.8 พันล้านยูโร หลังจากขาดดุล 8.5 พันล้านยูโรในปีก่อนหน้า เนื่องจากการนำเข้าที่ลดลงอย่างรวดเร็วคิดเป็น 18.7% สู่ 201.9 พันล้านยูโร โดยการนำเข้าเชื้อเพลิง, สินค้าอุตสาหกรรม, วัตถุดิบและเครื่องจักร ลดลงมากกว่า 21% พบว่าการนำเข้าลดลงจากประเทศรัสเซีย, สหราชอาณาจักร, สวิตเซอร์แลนด์และจีนเป็นหลัก

 

การส่งออกจากยูโรโซนลดลง 8.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีเป็น 218.7 พันล้านยูโรในเดือนธันวาคม เนื่องจากยอดขายเชื้อเพลิงลดลงอย่างรวดเร็วที่ 25.4% นอกจากนี้ยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมยังลดลงต่อเนื่องที่ 9.0% โดยประเทศที่การส่งออกลดลงได้แก่รัสเซีย, นอร์เวย์, สวิตเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9246, 0.9255, 0.9262

แนวรับสำคัญ: 0.9231, 0.9223, 0.9215

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9223 - 0.9231 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9231 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9255 และ SL ที่ประมาณ 0.9215 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9246 - 0.9255 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9262 และ SL ที่ประมาณ 0.9223 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9246 - 0.9255 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9246 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9223 และ SL ที่ประมาณ 0.9262 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9223 - 0.9231 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9215 และ SL ที่ประมาณ 0.9255 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 23 กุมภาพันธ์ 2567 19:03 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9215 0.9223 0.9231 0.9239 0.9246 0.9255 0.9262
Fibonacci 0.9223 0.9229 0.9233 0.9239 0.9245 0.9249 0.9255
Camarilla 0.9235 0.9237 0.9238 0.9239 0.9241 0.9242 0.9244
Woodie's 0.9215 0.9223 0.9231 0.9239 0.9246 0.9255 0.9262
DeMark's - - 0.9235 0.9241 0.9251 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES