บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 22 เมษายน 2567

Create at 1 week ago (Apr 22, 2024 09:59)

ชะตากรรมของเงินเยนขึ้นอยู่กับการทบทวนนโยบายของ BOJ

สัปดาห์นี้ ทุกสายตาจับจ้องไปที่เงินเยน ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) เตรียมทบทวนนโยบายการเงินในวันศุกร์นี้ ท่ามกลางเงินเยนที่ซื้อขายที่ 154.70 ต่อดอลลาร์ ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปีที่ 154.79 ในสัปดาห์ที่แล้ว และเข้าใกล้ระดับ 155 ซึ่งอาจกระตุ้นให้ทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน

หลังจากการประชุมผู้นำทางการเงินของกลุ่ม G20 ในกรุงวอชิงตัน ผู้ว่าการ BOJ คาซูโอะ อุเอดะกล่าวว่าธนาคารกลางอาจพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากการอ่อนค่าของเงินเยนส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ แถลงการณ์ร่วมที่ออกโดยญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กับสหรัฐฯ ตอกย้ำความกังวลเกี่ยวกับค่าเงินที่อ่อนค่าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนแอ ท่ามกลางความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันและต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้ทั้งสองประเทศตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน

โดยผู้ว่าการอุเอดะย้ำถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ BOJ จะต้องคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไว้ในขณะนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ยังต่ำกว่าเป้าหมาย 2% โดยแม้จะมีการยุติมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ แต่ BOJ ยังคงความยืดหยุ่นในแนวทางนโยบาย ซึ่งรวมถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่อาจเกิดขึ้น และการลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น

ความคาดหวังของตลาดโอนเอียงไปที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในปีนี้ โดยคาดว่าจะรู้เบาะแสเกี่ยวกับช่วงจังหวะเวลาในระหว่างการประชุมนโยบายของ BOJ ที่กำลังจะมีขึ้น ซึ่งจะมีการเปิดเผยการคาดการณ์การเติบโตและอัตราเงินเฟ้อใหม่ ขณะที่ผู้ว่าการอุเอดะเน้นย้ำถึงความสำคัญของการติดตามข้อมูลค่าจ้างและผลกระทบต่อราคาบริการในการตัดสินใจ

ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นที่หลากหลายในเดือนมีนาคม โดย CPI พื้นฐานเพิ่มขึ้นตามที่คาดไว้แต่ในอัตราที่ช้าลง ในขณะที่แนวโน้มราคาทั่วไปบ่งชี้ว่าเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง

ในเดือนเมษายน ความเชื่อมั่นทางธุรกิจในหมู่ผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่นและบริษัทภาคบริการลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยได้รับอิทธิพลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในจีน โดยดัชนีความเชื่อมั่นจาก Reuters Tankan ของผู้ผลิตลดลงจากเดือนก่อน โดยภาคธุรกิจสารเคมีและการแปรรูปอาหารได้รับผลกระทบเป็นพิเศษ ในขณะเดียวกัน ดัชนีภาคบริการลดลง แม้ว่าภาคการค้าปลีกจะปรับปรุงดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นของทั้งสองภาคส่วนคาดว่าจะดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงสามเดือนข้างหน้า

ทางด้านการอ่อนค่าของเงินเยนอยู่ในระดับที่ไม่เคยพบเห็นมาตั้งแต่ปี 1990 ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มขึ้น และส่งผลเสียต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม การส่งออกของญี่ปุ่นเกินความคาดหมายในเดือนมีนาคม โดยได้แรงหนุนจากความต้องการที่แข็งแกร่งในตลาดสำคัญๆ เช่น สหรัฐฯ และจีน ส่งผลให้เกิดการเกินดุลการค้า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออก แต่ปริมาณการส่งออกกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามสัดส่วน สร้างความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของการเติบโตของประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออก

ในแง่บวก ตัวชี้วัดการใช้จ่ายด้านทุนที่สำคัญของญี่ปุ่นเกินการคาดการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากลดลงในเดือนก่อน บ่งชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศแข็งแกร่งขึ้นท่ามกลางการอ่อนค่าของเงินเยน

ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเนื่องจากความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนต่างรอคอยการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดยเฉพาะดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมจะยังคงสูง ขณะที่ PMI ของสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม บ่งชี้ว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมบริการชะลอตัวลงอีกครั้ง หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อภาคบริการที่อ่อนตัวลง

ทั้งนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมประจำสัปดาห์ประกอบด้วยประมาณการเบื้องต้นของ GDP ไตรมาสแรก ซึ่งคาดว่าจะลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับยอดขายบ้านใหม่ การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก และตัวเลขแก้ไขเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ จึงอาจส่งผลให้เงินเยนทรงตัวซื้อขายขึ้นลงในกรอบแคบๆ และคงความอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อย่างต่อเนื่องในระยะนี้ โดยการกลับตัวของเงินเยนคาดว่าจะขึ้นอยู่กับข่าวและข้อมูลทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการแทรกแซงค่าเงินของทางการญี่ปุ่นเป็นปัจจัยสำคัญ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 154.68, 154.71, 154.75

แนวรับสำคัญ : 154.60, 154.57, 154.53                

1H Outlook

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: TradingView   

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 154.50 – 154.60 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 154.60 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.69 และ SL ที่ประมาณ 154.45 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 154.68 – 154.78 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.83 และ SL ที่ประมาณ 154.55 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 154.68 – 154.78 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 154.68 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.58 และ SL ที่ประมาณ 154.83 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 154.50 – 154.60 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.44 และ SL ที่ประมาณ 154.73 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Apr 22, 2024 09:18AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 154.47 154.53 154.58 154.64 154.69 154.75 154.8
Fibonacci 154.53 154.57 154.6 154.64 154.68 154.71 154.75
Camarilla 154.59 154.6 154.61 154.64 154.64 154.65 154.66
Woodie's 154.45 154.52 154.56 154.63 154.67 154.74 154.78
DeMark's - - 154.55 154.62 154.66 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES