บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

Create at 5 months ago (Nov 10, 2023 10:33)

ผู้ว่า BOJ ยืนหยัดใช้นโยบายผ่อนคลายพิเศษ

ในระหว่างการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) ได้ยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของธนาคารกลางในการคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยติดลบและการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน จนกว่าจะมีความมั่นใจมากขึ้นในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการขึ้นราคาและการขึ้นค่าจ้างของบริษัทต่างๆ ที่จะเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ อูเอดะกล่าวว่าธนาคารกลางจำต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการออกจากการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในตลาดพันธบัตรและตราสารหนี้ ทั้งยังส่งสัญญาณถึงเส้นทางเดินข้างหน้าและระยะห่างก่อนที่ BOJ จะสามารถละทิ้งการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนและนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบได้

ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อ อูเอดะตั้งข้อสังเกตว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่น ซึ่งไม่รวมปัจจัยชั่วคราว ยังคงต่ำกว่า 2% เล็กน้อย และมีความไม่แน่นอนว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถเร่งขึ้นตามที่คาดไว้ได้หรือไม่ โดยชี้ให้เห็นถึงอัตราค่าจ้างที่จะต้องเพิ่มขึ้นมากกว่า 2% เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของ BOJ ได้อย่างยั่งยืน

อูเอดะยังได้หารือเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งรวมถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับศักยภาพของการลงจอดอย่างนุ่มนวลหรือ Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทิศทางของเศรษฐกิจจีน โดยเมื่อถามถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อนโยบายการเงิน อูเอดะกล่าวว่า BOJ จะวิเคราะห์ถึงผลกระทบของสกุลเงินต่ออัตราเงินเฟ้อและผลผลิต โดยจะดำเนินตอบโต้ตามความจำเป็น

ทั้งนี้ จากรายงานสรุปความคิดเห็นของธนาคารกลางญี่ปุ่นหลังการประชุมเดือนตุลาคม เผยให้เห็นถึงความคาดหวังเชิงบวกเกี่ยวกับแนวโน้มค่าจ้าง ที่คาดการณ์ว่าจะมีการเจรจาในการปรับฐานค่าจ้างให้สูงขึ้นในปีหน้า ซึ่งอาจใกล้เคียงกับเป้าหมายราคาของ BOJ ในขณะที่สมาชิกบางคนแนะนำให้ลดมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน และใช้การปรับการควบคุมผลตอบแทนเป็นรากฐานสำหรับการปรับเปลี่ยนนโยบายให้เป็นมาตรฐานในอนาคต

ในขณะเดียวกัน อัตราค่าจ้างที่แท้จริงที่ไม่รวมอัตราเงินเฟ้อลดลง 2.4% ในเดือนกันยายน หลังจากที่ลดลง 2.8% ในเดือนก่อน โดยแม้ว่าการเติบโตของค่าจ้างที่เป็นตัวเงินในเดือนกันยายนจะดีขึ้นเล็กน้อยที่ 1.2% แต่พบว่าบริษัทใหญ่ ๆ ได้ตกลงปรับขึ้นค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดในรอบ 30 ปีที่ 3.58% และทำลายแนวโน้มการเติบโตของค่าจ้างที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ต้นปี 1990

อีกด้าน ในเดือนกันยายน ญี่ปุ่นรายงานการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มากที่สุดในรอบ 18 เดือน โดยพบดุลการค้ากลับมาเป็นบวกอีกครั้ง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนพลังงานที่สูงและค่าเงินเยนที่อ่อนค่าซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ที่ต้องอาศัยการนำเข้าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบอย่างมาก โดยเงินเยนที่อ่อนค่าลงมีส่วนทำให้เกิดแรงกดดันด้านค่าครองชีพจากราคาสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ แม้ว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจของผู้ผลิตและภาคบริการในญี่ปุ่นจะดีขึ้น แต่จากการสำรวจของ Reuters Tankan ยังคงชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ท้าทายท่ามกลางการฟื้นตัวที่ไม่แน่นอน โดยผลการสำรวจแสดงให้เห็นถึงอุปสรรถที่เพิ่มมากขึ้นในไตรมาสหน้า ซึ่งคาดว่าความเชื่อมั่นของผู้ผลิตจะคงที่ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคบริการคาดว่าจะลดลง จากการที่บริษัทหลายแห่งแสดงความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้นและการถดถอยของตลาดหลักอย่าง จีน

นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน การใช้จ่ายของผู้บริโภคในญี่ปุ่นลดลงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของการบริโภคในครัวเรือนที่เป็นไปได้ช้า โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามของโลก จะหดตัวในไตรมาสที่สาม จากความผันผวนในการใช้จ่าย ซึ่งมีสาเหตุมาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ เช่น ราคาเมนูอาหารตามร้านอาหาร ค่าเดินทาง ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดหมู่ของใช้จำเป็นลดลงจากอิทธิพลของราคาที่สูงขึ้นส่วนหนึ่ง

ในขณะเดียวกัน ค่าเงินญี่ปุ่นที่ยังคงอยู่ในระดับวิกฤต ซื้อขายใกล้ระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งปี ส่งผลให้นักลงทุนตื่นตัวถึงการแทรกแซงที่อาจเกิดขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ แสดงความไม่มั่นใจในอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ยังได้รับอิทธิพลจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปีที่ต่ำ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนสูงขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดบางส่วนยังคงมุมมองแบบเข้มงวด ส่งผลให้ตลาดไม่แน่ใจเกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของเงินดอลลาร์ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความกังวลในการเติบโตในภูมิภาคอื่นๆ

โดยจากข้อมูลของ FedWatch Tool โดย CME Group ตลาดฟิวเจอร์สกองทุนเฟด (FFR) ส่งสัญญาณถึงความน่าจะเป็น 25% ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมภายในเดือนมกราคม ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 19% ช่วงต้นสัปดาห์ แต่ลดลงจาก 28% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จึงอาจส่งผลให้แนวโน้มของคู่สกุล USD/JPY ยังขาดทิศทางที่แน่ชัดในช่วงนี้ โดยคาดว่าอาจพบการทรงตัวในกรอบบน บนความเสี่ยงที่เงินเยนอาจพลิกกลับแข็งค่าขึ้นได้เล็กน้อยจากปัจจัยจากนโยบายทางการเงินของญี่ปุ่นและการเก็งกำไรของนักลงทุน ขณะที่ยังคงแนวโน้มอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะกลาง

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 151.37, 151.40, 151.44

แนวรับสำคัญ : 151.27, 151.24 , 151.19                 

5H Outlook 

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: Investing.com  

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 151.17 – 151.27 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 151.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.38 และ SL ที่ประมาณ 151.12 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 151.37 – 151.47 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.57 และ SL ที่ประมาณ 151.22 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 151.37 – 151.47 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 151.37 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.26 และ SL ที่ประมาณ 151.52 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 151.17 – 151.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.05 และ SL ที่ประมาณ 151.42 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Nov 10, 2023 10:16AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 151.13 151.19 151.26 151.32 151.38 151.44 151.51
Fibonacci 151.19 151.24 151.27 151.32 151.37 151.40 151.44
Camarilla 151.29 151.30 151.31 151.32 151.34 151.35 151.36
Woodie's 151.13 151.19 151.26 151.32 151.38 151.44 151.51
DeMark's - - 151.29 151.34 151.42 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES