บทวิเคราะห์ USD/EUR 12 ตุลาคม 2566

Create at 6 months ago (Oct 12, 2023 11:06)

เงินเฟ้อในระยะสั้นของยูโรโซนยังต้องมีการตับตาดูอย่างใกล้ชิด

ยูโรเริ่มมีการดีดตัวกลับอีกครั้ง ซึ่งทางด้านนักลงทุนเริ่มมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นหลังจากได้มีความคิดเห็นจากผู้กำหนดนโยบายทั้งของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยผู้กำหนดนโยบายของ Fed มีความคิดเห็นว่าอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว อาจขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก และ Luis de Guindos รองประธาน ECB กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวคาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มลดลง ถึงอย่างนั้น ก็จำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝันด้วย

 

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (MoM) ในเดือนสิงหาคม โดยได้แรงหนุนจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น 2.5% ทางด้านราคาสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่มีการปรับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

 

การที่ตัวเลข PPI เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการปรับการคาดการณ์เงินเฟ้อระยะสั้นเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดนที่อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) อีกทั้งความกังวลด้านราคาพลังงานรวมถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ยังเป็นอีกหนึ่งความกังวลที่ต้องจับตาดูว่าจะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้จะยืดเยื้อนานแค่ไหน และอาจทำให้ราคาน้ำมันกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

 

ทางด้าน Francois Villeroy de Galhau กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงบรรลุเป้าหมายของ ECB ที่ประมาณ 2% ภายในสิ้นปี 2568 แม้ว่าความรุนแรงจะปะทุขึ้นในอิสราเอลก็ตาม ทั้งนี้ Christine Lagarde ประธานของ ECB ยังคงใช้ ปัจจัยทั้ง 3 มาเป็นตัวตัดสินใจในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายคือ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ, ตัวผลักดันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและความแข็งแกร่งของการส่งผ่านนโยบายการเงิน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกแล้วในอนาคต

 

ยอดค้าปลีกในเขตยูโรลดลง 1.2 %เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนสิงหาคม โดยยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ลดลง 3% ท่ามกลางราคาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยอดขายอาหาร ,เครื่องดื่มและยาสูบลดลง 1.2% อีกทั้งการค้าขายออนไลน์ลดลง 4.5% ​​สังเกตได้ว่าผู้บริโภคเริ่มมีการใช้จ่ายที่ลดลงแล้ว ซึ่งมาจากส่งผ่านนโยบายการเงินที่มีประสิทธิภาพ

 

ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของยูโรโซนเริ่มมีการปรับลดลงทุกช่วงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ที่มีการลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วในปีนี้รวมถึงตัวเลข CPI ที่จะมีการประกาศในสัปดาห์นี้ก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีมากขึ้น

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9419, 0.9426, 0.9430

แนวรับสำคัญ: 0.9407, 0.9402, 0.9395

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

จุดกลับตัว 12 ตุลาคม 2566 10:56 น. GMT+7

ชื่อ S3 S2 S1 จุดกลับตัว R1 R2 R3
Classic 0.9395 0.9402 0.9407 0.9414 0.9419 0.9426 0.9430
Fibonacci 0.9402 0.9407 0.9410 0.9414 0.9418 0.9421 0.9426
Camarilla 0.9408 0.9410 0.9411 0.9414 0.9413 0.9414 0.9415
Woodie's 0.9393 0.9401 0.9405 0.9413 0.9417 0.9425 0.9428
DeMark's - - 0.9405 0.9413 0.9417 - -
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9402 - 0.9407 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9407 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9426 และ SL ที่ประมาณ 0.9395 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9419 - 0.9426 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9430 และ SL ที่ประมาณ 0.9402 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9419 - 0.9426 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9419 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9402 และ SL ที่ประมาณ 0.9430 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9402 - 0.9407 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9395 และ SL ที่ประมาณ 0.9426 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

ตัวชี้วัดทางเทคนิค 12 ตุลาคม 2566 10:56 น. GMT+7

ชื่อ มูลค่า Action
RSI(14) 35.410 ขาย
STOCH(9,6) 22.015 ขาย
STOCHRSI(14) 4.074 ขายมากเกินไป
MACD(12,26) -0.002 ขาย
ADX(14) 37.765 ขาย
Williams %R -90.891 ขายมากเกินไป
CCI(14) -109.4769 ขาย
ATR(14) 0.0024 ผันผวนน้อยลง
Highs/Lows(14) -0.0016 ขาย
Ultimate Oscillator 39.353 ขาย
ROC -0.772 ขาย
Bull/Bear Power(13) -0.0036 ขาย

ซื้อ:0

ขาย:9

ถือหุ้นไว้:0

สรุป:ขายทันที

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES