กระทิงขวิดหงายท้อง หลังทองพุ่งกว่า 3,900 จุด เหตุตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ “แย่เกินคาด” ยกชุด

กระทิงขวิดหงายท้อง หลังทองพุ่งกว่า 3,900 จุด เหตุตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ “แย่เกินคาด” ยกชุด
Create at 1 year ago (May 20, 2022 11:27)
ทองพุ่งกว่า 3,900 จุด จาก Low $1,810 สู่ High $1,849 เหตุตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ “แย่เกินคาด” ยกชุด รวมถึงปัจจัยจากบอนด์ยีลด์ที่ร่วงลงแตะ Low รอบ 3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทองคำได้ปรับตัวลงมาที่ $1,842 ณ เวลาที่เขียน
 
ด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 21,000 ราย สู่ระดับ 218,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 200,000 ราย 
 
บอนด์ยีลด์อายุ 10 ปี ปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 2.772% หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แย่เกินคาดกระตุ้นความกังวลเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางการคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างแข็งกร้าวโดยเฟด
 
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก ดิ่งลงสู่ระดับ 2.6 ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 16.0 จากระดับ 17.6 ในเดือน เม.ย.
 
Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ Leading Economic Index (LEI) ปรับตัวลง 0.3% ในเดือน เม.ย. หลังจากปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนมี.ค. นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีทรงตัวในเดือน เม.ย.
 
เทอร์รี แซนด์เวน นักวิเคราะห์จากบริษัทยูเอส แบงก์ เวลธ์ แมเนจเมนท์กล่าวว่า บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับปัจจัยลบจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการที่เฟดเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย และคาดว่าตลาดจะเผชิญกับความผันผวนต่อไปอีกจนถึงช่วงฤดูร้อน
 
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 2.62 ดอลลาร์ หรือ 2.4% ปิดที่ 112.21 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าอุปสงค์น้ำมันในจีนจะเริ่มฟื้นตัวขึ้น เมื่อนครเซี่ยงไฮ้ยุติการใช้มาตรการล็อกดาวน์ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้
 
ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 236.94 จุด หรือ -0.75%, ดัชนี S&P500 ปิด -0.58% และดัชนี Nasdaq ปิด -0.26% เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อและผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
 
ดัชนีสกุลเงินดอลลาร์ อ่อนค่าลง 1.0% แตะระดับต่ำสุดที่ 102.657 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ 5 พ.ค. หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.
 
อย่างไรก็ดี แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะหนุนราคาทองคำทะยานขึ้น แต่ในด้านนางเอสเธอร์ จอร์จ ประธานเฟดแคนซัสซิตี้ กรรมการเฟดผู้มีสิทธิโหวตนโยบายการเงินในปีนี้กล่าวว่า ตอนนี้การขึ้นดอกเบี้ย 50 bps เหมาะสม และต้องมีอะไรที่ต่างไปจากเดิมอย่างมาก เฟดจึงต้องขึ้นดอกเบี้ยมากกว่านั้น สกัดช่วงบวกทอง
 
ขณะเดียวกัน กระทรวงกลาโหมรัสเซียแถลงว่า นายวาเลรี เกราซิมอฟ ผู้บัญชาการทหารกองทัพรัสเซีย ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับนายมาร์ก มิลเลอร์ ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐฯ ในวันนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน รวมทั้งสถานการณ์ในยูเครน
 
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม และทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
 
Source: CNBC, SPDR, Kitco, Investing, Infoquest, Reuters, Bloomberg, Fxstreet
 
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ทองพุ่งกว่า 3,900 จุด จาก Low $1,810 สู่ High $1,849 โดยปัจจุบันทองคำได้ปรับตัวลงมาที่ $1,842 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ ทองคำยังคงวิ่งในแนวโน้มขาลง (Downtrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟยังวิ่งอยู่ใต้เส้นเทรนด์ไลน์สีชมพู แต่การที่กราฟได้ขึ้นมา Re-Test เส้นเทรนด์ไลน์สีเหลือง บ่งบอกถึงแรง Buy ที่เริ่มกลับเข้ามาในตลาด อย่างไรก็ดี กราฟมีโอกาสกลับขึ้นมาทดสอบแนวต้านสำคัญ รวมทั้ง บริเวณ Supply Zone ที่โซน $1,846-$1,860 (เนื่องจากปริมาณแรง Buy the Dip ที่ยังคงมีอยู่ในตลาด) ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Sell ได้ โดยหากไม่สามารถยืนเหนือแนวต้าน และเส้นเทรนด์ไลน์ดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวลงต่อ และร่วงลงมาทดสอบแนวรับที่ $1,832 / $1,822 / $1,810 ตามลำดับ (โซนนี้ สามารถ Buy ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถยืนเหนือโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่โซน $1,860-$1,867 (Supply Zone นี้ สามารถ Sell ได้) อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ 
แนวต้านสำคัญ: 1,846 / 1,858 / 1,871
แนวรับสำคัญ: 1,832 / 1,822 / 1,810
 
 
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES