หมีกระทิงพักรบ ทองไร้ทิศทาง ทรงตัวเหนือ $1,810 ท่ามกลางดาวโจนส์ดิ่งหนักกว่า 1,100 จุด

หมีกระทิงพักรบ ทองไร้ทิศทาง ทรงตัวเหนือ $1,810 ท่ามกลางดาวโจนส์ดิ่งหนักกว่า 1,100 จุด
Create at 1 year ago (May 19, 2022 10:51)
หมีกระทิงพักรบ ทองไร้ทิศทาง ทรงตัวเหนือ $1,810 ท่ามกลางดาวโจนส์ดิ่งหนักกว่า 1,100 จุด กระตุ้นนักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ กดดันบอนด์ยีลด์ร่วงจาก High 3% ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ขานรับความต้องการสกุลเงินปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทองคำได้ปรับตัวมาที่ $1,816 เวลาที่เขียน
 
ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 1,164.52 จุด หรือ -3.57%, ดัชนี S&P500 ปิด -4.04% และดัชนี Nasdaq ปิด -4.73% เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เริ่มส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทค้าปลีก
 
บอนด์ยีลด์ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 2.968% หลังจากพุ่งขึ้นทะลุ 3% ในช่วงแรก เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางการดิ่งลงแรงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ
 
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 0.2% ในเดือน เม.ย. สู่ระดับ 1.724 ล้านยูนิต ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงสู่ระดับ 1.765 ล้านยูนิต
 
พอล คริสโตเฟอร์ นักวิเคราะห์จากบริษัทเวลส์ ฟาร์โก อินเวสต์เมนท์กล่าวว่า เหตุที่นักลงทุนเทขายหุ้น เนื่องจากความกังวลว่าธุรกิจค้าปลีกจะเริ่มได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นแซงหน้าค่าจ้าง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว อาจเกิดขึ้นเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้
 
Wells Fargo ระบุว่า บริษัทได้ลดการคาดการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ไม่รุนแรง (A Mild U.S. Recession) คือ กรณีพื้นฐานสำหรับสิ้นปี 2022 และต้นปี 2023 พร้อมปรับลดเป้าหมาย GDP สหรัฐฯสิ้นปี 2022 เป็น 1.5% จาก 2.2% และลดเป้าหมายสิ้นปี 2023 ลงเหลือ -0.5% จาก 0.4% ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
 
แพทย์หญิงโรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) กล่าวว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว และมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา
 
จากปัจจัยที่ได้กล่าวไปทั้งหมด หนุนให้ทองคำฟื้นจาก Low ที่ $1,807 สู่ High $1,824 อย่างไรก็ตามในปัจจัยด้านดัชนีดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น 0.58% ในวันพุธ ได้สกัดช่วงบวกทองคำ ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นได้กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน กระตุ้นแรงซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย 
 
รวมทั้ง FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 100% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินอีก 2 ครั้ง ทั้งในเดือน มิ.ย.และ ก.ค. หลังจากที่เฟดเพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 20 ปี ได้สกัดช่วงบวกทองเช่นกัน
 
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพุธ (18 พ.ค.) หลังมีรายงานว่าโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ เร่งเพิ่มการผลิตเพื่อรับมือกับสต็อกที่ลดลงอย่างมาก
 
นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถรับมือผลกระทบจากการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
 
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม และทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
 
Source: CNBC, SPDR, Kitco, Investing, Infoquest, Reuters, Bloomberg, Fxstreet
 
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ทองไร้ทิศทาง ทรงตัวเหนือ $1,810 โดยปัจจุบันทองคำได้ปรับตัวมาที่ $1,816 เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ ทองคำยังคงวิ่งในแนวโน้มขาลง (Downtrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟยังวิ่งอยู่ใต้เส้นเทรนด์ไลน์สีชมพู รวมถึงการที่กราฟวิ่งต่ำกว่าเส้น EMA-100 และ EMA-200 แต่การที่กราฟได้ขึ้นไปวิ่งสูงกว่าเส้นเทรนด์ไลน์สีเหลือง บ่งบอกถึงแรง Buy ที่เริ่มกลับเข้ามาในตลาด อย่างไรก็ดี กราฟมีโอกาสกลับขึ้นมาทดสอบแนวต้านสำคัญ รวมทั้ง Re-Test แนวของเส้นเทรนไลน์สีชมพูอีกครั้ง ที่โซน $1,827-$1,845 (เนื่องจากปริมาณแรง Buy the Dip ที่ยังคงมีอยู่ในตลาด) ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Sell ได้ โดยหากไม่สามารถยืนเหนือแนวต้าน และเส้นเทรนด์ไลน์ดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวลงต่อ และร่วงลงมาทดสอบแนวรับที่ $1798 / $1,786 / $1,774 ตามลำดับ (Demand Zone นี้ สามารถ Buy ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถยืนเหนือโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่โซน $1,860-$1874 (Supply Zone นี้ สามารถ Sell ได้) *** ในกรณีกราฟขึ้นมาโซนกรอบแดง ให้ยอมโดน Stop Loss ก่อน แล้วรอจังหวะที่กราฟขึ้นมา Supply Zone ค่อยเปิดหน้า Sell อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ 
แนวต้านสำคัญ: 1,827 / 1,839 / 1,853
แนวรับสำคัญ: 1798 / 1,786 / 1,774
 
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES