บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 11 กันยายน 2566

บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 11 กันยายน 2566
Create at 7 months ago (Sep 11, 2023 11:10)

AUD แตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน คาดอาจฟื้นตัวจากอัตราดอกเบี้ย RBA และแรงกระตุ้นจากจีน

ล่าสุด เงินดอลลาร์ออสเตรเลียแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและอัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น ในขณะที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายรายถือสัญญาสถานะขายดอลลาร์ออสเตรเลียเป็นประวัติการณ์ที่ 94,107 สัญญา

อย่างไรก็ตาม พบแนวโน้มเชิงบวกที่อาจส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียอาจดีดตัวขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยขึ้นอยู่กับความพยายามของจีนในการกระตุ้นเศรษฐกิจและความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนธันวาคม

โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่าตลาดในปัจจุบันประเมินโอกาสในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นสุดท้ายของ RBA ต่ำเกินไป ซึ่งหากเป้าหมายการเติบโตของจีนที่ 5% อาจเป็นไปได้ยาก ทางการจีนอาจใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง และอาจเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความเสี่ยงและเป็นประโยชน์ต่อเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้

ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ออสเตรเลียอาจเผชิญกับแรงกดดันครั้งใหม่ได้ หากข้อมูลในวันที่ 14 กันยายน แสดงให้เห็นว่าอัตราการว่างงานของประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ ตลาดแรงงานที่อ่อนตัวลงอาจทำให้นักลงทุนพิจารณาถึงความคาดหวังเกี่ยวกับการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจาก RBA อีกครั้ง

ทางด้านธนาคารกลางออสเตรเลีย ล่าสุดตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย (OCR) ไว้ที่ 4.10% โดยผู้ว่าการ RBA Philip Lowe กล่าวว่าการตัดสินใจครั้งนี้ จะช่วยให้ธนาคารกลางมีเวลามากขึ้นในการประเมินผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันและแนวโน้มเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของค่าจ้างและผลกำไรที่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อในการกลับสู่กรอบเป้าหมายภายในปลายปี 2568

ในขณะเดียวกัน ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของออสเตรเลียสำหรับไตรมาสที่สองของปี 2566 เกินความคาดหมาย โดยเพิ่มขึ้น 0.4% และการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 2.1% อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ที่ซบเซาและภาวะเงินฝืดในจีนก็ได้ส่งผลกระทบต่อดุลการค้าและการส่งออกของออสเตรเลีย โดยเฉพาะในสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ ในขณะที่การบริโภคภาคครัวเรือนยังคงอ่อนแอเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับเศรษฐกิจออสเตรเลีย เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด โดยความอ่อนแอในตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาคการผลิตของจีนได้ส่งผลกระทบต่อออสเตรเลียอย่างเลี่ยงไม่ได้

โดยในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จุดสนใจของตลาดจะอยู่ที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งการสำรวจความคาดหวังเงินเฟ้อของผู้บริโภคคาดว่าจะลดลงเล็กน้อยในเดือนสิงหาคม ซึ่งการอ่อนตัวลงอย่างมีนัยสำคัญคาดว่าจะท้าทายความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อไป ในขณะที่รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ที่จะถูกจับตามองเป็นพิเศษ จะเปิดเผยในวันพุธนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อประจำปีของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นจาก 3.2% เป็น 3.6% ในเดือนสิงหาคม

ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเป็นสัปดาห์ที่แปดติดต่อกัน โดยตลาดคาดการณ์ว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมเดือนกันยายน โดยพบความเป็นไปได้ 93% ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ และ 43.5% ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพฤศจิกายน ตามรายงานของ CME FedWatch Tool

ทั้งนี้ นักลงทุนจะให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับการเปิดเผยข้อมูลในสัปดาห์นี้ เช่น ดัชนีราคาผู้ผลิตและยอดขายปลีก เพื่อประเมินทิศทางนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในอนาคต และจะให้ความสนใจกับข้อมูลเศรษฐกิจจากประเทศจีน รวมถึงตัวชี้วัดต่างๆ เช่น ยอดขายรถยนต์และสินเชื่อเงินหยวนใหม่ ในขณะที่ ภายในออสเตรเลีย ตัวเลขการจ้างงานจะถูกเปิดเผยในวันพฤหัสบดี และข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการขายปลีกของจีนที่จะเผยแพร่ในวันศุกร์ คาดว่าจะส่งผลเพิ่มเติมต่อแนวโน้มการซื้อขาย AUD/USD

โดยสรุป แม้ว่าฉากหลังทางเศรษฐกิจเชิงบวกอาจช่วยหนุนเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้ แต่ความแตกต่างทางด้านนโยบายเศรษฐกิจและการเงินยังคงสนับสนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักในสัปดาห์นี้จะอยู่ที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งอาจเสริมความแข็งแกร่งหรือชดเชยผลกระทบของราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากจีนที่อาจเกิดขึ้นอาจมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้ จึงอาจส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวขึ้นลงในกรอบหรือปรับฐานขึ้นสูงได้เล็กน้อย ในขณะที่แนวโน้มระยะสั้นในช่วงนี้จะยังคงอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อยู่

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6418, 0.6422, 0.6428

แนวรับสำคัญ : 0.64060.64020.6396                                     

1H Outlook             

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6396 - 0.6406 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6406 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6421 และ SL ที่ประมาณ 0.6391 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6418 - 0.6423 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6430 และ SL ที่ประมาณ 0.6401 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6418 - 0.6423 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6418 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6405 และ SL ที่ประมาณ 0.6428 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6396 - 0.6406 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6390 และ SL ที่ประมาณ 0.6423 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Sep 11, 2023 10:55AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 0.6389 0.6396 0.6405 0.6412 0.6421 0.6428 0.6437
Fibonacci 0.6396 0.6402 0.6406 0.6412 0.6418 0.6422 0.6428
Camarilla 0.6411 0.6412 0.6414 0.6412 0.6416 0.6418 0.6419
Woodie's 0.6391 0.6397 0.6407 0.6413 0.6423 0.6429 0.6439
DeMark's - - 0.6409 0.6414 0.6425 - -

Sources: Investing Yahoo Finance

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES