บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 4 เมษายน 2567

Create at 3 weeks ago (Apr 04, 2024 10:27)

ดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่ง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง

ดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นเหนือ MA 200 ในวันพฤหัสบดี โดยแตะระดับ 0.6568 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่อ่อนค่าลงในช่วงหลัง ท่ามกลางนักลงทุนที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยของออสเตรเลียจะยังคงทรงตัวจนถึงเดือนพฤศจิกายน

ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของออสเตรเลียลดลงในเดือนมีนาคมจากระดับสูงสุดในรอบ 20 เดือนในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสถาบัน Westpac Melbourne ลดลง 1.8% โดยมีสาเหตุมาจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินภาคครัวเรือน แม้ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะมีท่าทีผ่อนคลายต่ออัตราดอกเบี้ย แต่ผู้บริโภคก็ยังคงวิตก โดยหวังว่าจะได้รับข้อความเชิงบวกมากขึ้น

ในภาคการค้าปลีก ยอดขายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมยอดนิยม อย่างคอนเสิร์ตของ เทย์เลอร์ สวิฟต์ อย่างไรก็ตาม การเติบโตของยอดขายต่อปียังคงไม่มากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงซึ่งจำกัดรายได้สุทธิส่วนบุคคล ขณะที่การขายปลีกอาหารและของใช้ในครัวเรือนมีการลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือนนี้

ในเดือนกุมภาพันธ์ อัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของออสเตรเลียทรงตัว ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์เล็กน้อย ส่งผลให้ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีท่าทีเข้มงวดน้อยลง ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียระบุว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI เพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5% และยังคงรักษาเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

ปัจจัยขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อยู่ที่ราคาที่อยู่อาศัย อาหาร และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากไม่รวมสินค้าที่มีความผันผวน เช่น อาหารสด และเชื้อเพลิงรถยนต์ อัตราเงินเฟ้อ CPI พื้นฐานลดลงเหลือ 3.9% ในเดือนกุมภาพันธ์จาก 4.1% ในเดือนมกราคม ขณะที่ในซิดนีย์และเมลเบิร์น อัตราเงินเฟ้อได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากงานคอนเสิร์ตของนักร้องชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ ส่งผลให้ราคาโรงแรมในเมืองเหล่านี้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาที่พักและราคาตั๋วเครื่องบินในเมืองส่วนอื่นๆ ของออสเตรเลียลดลงเนื่องจากความต้องการเดินทางที่ลดลง

ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดหลังจากที่ RBA เพิ่งลดท่าทีที่เข้มงวดลง โดยไม่ได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI ของออสเตรเลียจะลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุดในรอบ 30 ปีในช่วงต้นปี 2023 แต่ยังคงสูงกว่าช่วงเป้าหมายของ RBA ที่ 2% ถึง 3% ต่อปีอย่างมาก ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้คาดว่าจะส่งผลให้ธนาคารกลางยังไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้น

ทางด้านการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในออสเตรเลียได้รับความสนใจจากซีอีโอของธนาคารรายใหญ่ ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลท้องถิ่นเร่งรัดการอนุมัติการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยการขาดแคลนที่อยู่อาศัยจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำหลายปี กำลังเป็นอุปสรรคต่อการครอบครองบ้านหลังแรก และทำให้การขาดแคลนทักษะรุนแรงขึ้นทั่วประเทศ

ในการค้าระหว่างประเทศ จีนได้ประกาศยกเลิกภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดและต่อต้านการอุดหนุนสำหรับไวน์ออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดมาตรการระยะเวลา 3 ปี โดยการตัดสินใจครั้งนี้เป็นไปตามการปรับปรุงความสัมพันธ์ทวิภาคี ซึ่งจีนค่อยๆ ขจัดอุปสรรคทางการค้าในการส่งออกต่างๆ ของออสเตรเลีย

ท่ามกลางการพัฒนาเหล่านี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา หลังความเห็นของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ บ่งชี้ถึงการลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้น ท่ามกลางการชะลอตัวของการเติบโตของภาคบริการของสหรัฐฯ อย่างไม่คาดคิด ที่ได้ส่งผลต่อการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ยังคงเป็นสกุลเงินในกลุ่ม G10 ที่มีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุดในปีนี้

ทั้งนี้ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นประมาณ 3.3% ในปีนี้เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ท่ามกลางการวางสถานะซื้อดอลลาร์สุทธิแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2022 โดยเดือนมีนาคมพบการเติบโตของอุตสาหกรรมบริการของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง ควบคู่ไปกับราคาปัจจัยการผลิตทางธุรกิจที่ลดลง บ่งบอกถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะค่อยๆ ลดลง โดยบางอุตสาหกรรมยังคงประสบปัญหาแรงกดดันต่อราคาวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่าสภาวะตลาดแรงงานจะเริ่มผ่อนคลายลง แต่แรงงานที่มีทักษะยังคงขาดแคลน โดยเฉพาะในภาคส่วนต่างๆ เช่น การก่อสร้าง

อย่างไรก็ดี ตลาดการเงินได้ปรับการคาดการณ์เกี่ยวกับช่วงเวลาและขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวมประมาณ 75 จุดในปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของเฟด และสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่กำลังดำเนินอยู่ในภาวะปัจจุบัน จึงอาจพบการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้บ้างในระยะสั้น แต่การแข็งค่าอาจยังคงถูกจำกัดในระยะยาว จากความต่างของผลตอบแทนระหว่างสองประเทศเศรษฐกิจที่ต่างกันมาก

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6580, 0.6581, 0.6584

แนวรับสำคัญ : 0.65740.65730.6570                               

1H Outlook

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: TradingView                                     

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6569 - 0.6574 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6574 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6581 และ SL ที่ประมาณ 0.6567 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6580 - 0.6585 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6589 และ SL ที่ประมาณ 0.6572 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6580 - 0.6585 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6580 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6574 และ SL ที่ประมาณ 0.6587 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6569 - 0.6574 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6565และ SL ที่ประมาณ 0.6582 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Apr 4, 2024 09:38AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 0.6567 0.657 0.6574 0.6577 0.6581 0.6584 0.6588
Fibonacci 0.657 0.6573 0.6574 0.6577 0.658 0.6581 0.6584
Camarilla 0.6575 0.6576 0.6576 0.6577 0.6578 0.6578 0.6579
Woodie's 0.6567 0.657 0.6574 0.6577 0.6581 0.6584 0.6588
DeMark's - - 0.6572 0.6576 0.6579 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES