บทวิเคราะห์ USD/JPY 2 เมษายน 2567

Create at 4 weeks ago (Apr 02, 2024 19:14)

การนำเข้าของญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

เงินเยนของญี่ปุ่นทรงตัวที่ประมาณ 151.4 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ชุนอิจิ ซูซูกิ ยังคงย้ำเตือนเรื่องค่าเงินที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วและได้จับตาดูการเคลื่อนไหวของตลาดอย่างใกล้ชิด โดยให้เหตุผลว่าเงินเยนในตอนนี้ไม่ได้สะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วของเงินเยนเกิดจากการคาดการณ์ว่า BOJ จะยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไปอีกสักระยะ แม้ว่าจะมีการยกเลิกอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบแล้วก็ตาม นอกจากนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐได้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากจะมีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐภายในสัปดาห์นี้


ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของโตเกียวในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมีนาคม ชะลอตัวลงเล็กน้อยจาก 2.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับว่าเป็นเหตุผลสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบและยกเลิกการควบคุมอัตราผลตอบแทนในการประชุมครั้งล่าสุด

 

ยอดค้าปลีกในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกุมภาพันธ์ นับว่าเป็นการขยายตัวของยอดค้าปลีก 24 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากการบริโภคของภาคครัวเรือนในญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มที่ดี เมื่อพิจารณาแยกตามอุตสาหกรรมพบว่ายอดขายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยาและเครื่องสำอางมีการเติบโตมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

 

การขาดดุลการค้าของญี่ปุ่นลดลงอย่างรวดเร็วเป็น 379,358 พันล้านเยนในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 928,908 พันล้านเยนในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้น 7.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการเติบโต 3 เดือนติดต่อกัน โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 8,249.21 พันล้านเยน ท่ามกลางความต้องการที่แข็งแกร่งจากสหรัฐฯ และจีน ซึ่งยอดส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเป็นสินค้ายานยนต์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ รองลงมาคือการส่งออกเครื่องจักรเนื่องจากความต้องการด้านเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น

 

ในขณะเดียวกัน การนำเข้าเพิ่มขึ้นที่ 0.5% ซึ่งเป็นเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 11 เดือนเป็น 8,628.57 พันล้านเยน เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ซึ่งการนำขเาที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนมาจากการนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องประดับ นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มเติม โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก รองลงมาคือเวียดนามและอินเดีย

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 151.81, 151.93, 152.06

แนวรับสำคัญ: 151.56, 151.43, 151.31

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 151.43 - 151.56 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 151.56 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.93 และ SL ที่ประมาณ 151.31 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 151.81 - 151.93 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 152.06 และ SL ที่ประมาณ 151.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 151.81 - 151.93 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 151.81 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.43 และ SL ที่ประมาณ 152.06 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 151.43 - 151.56 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.31 และ SL ที่ประมาณ 151.93 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 2 เมษายน 2567 19:07 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 151.31 151.43 151.56 151.68 151.81 151.93 152.06
Fibonacci 151.43 151.53 151.58 151.68 151.78 151.83 151.93
Camarilla 151.61 151.63 151.66 151.68 151.7 151.73 151.75
Woodie's 151.31 151.43 151.56 151.68 151.81 151.93 152.06
DeMark's - - 151.49 151.65 151.74 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES