บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 1 เมษายน 2567

Create at 1 month ago (Apr 01, 2024 10:17)

เงินเยนร่วงสร้างความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซง ดอลลาร์ทรงตัวท่ามกลางคาดการณ์การลดดอกเบี้ยจากเฟด

การอ่อนค่าของเงินเยนซึ่งเข้าใกล้ระดับในปี 1990 ได้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงของทางการญี่ปุ่น การประชุมฉุกเฉินล่าสุดระหว่างหน่วยงานกำกับนโยบายการเงินและแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่บ่งชี้ถึงความพยายามในการรักษาเสถียรภาพของเงินเยน โดยแม้ว่าปีงบประมาณของญี่ปุ่นจะสิ้นสุดลง และช่วยบรรเทาความผันผวนของสกุลเงินที่ส่งผลกระทบต่องบดุลได้ แต่สถานการณ์ยังคงไม่สามารถคาดเดาได้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชุนอิจิ ซูซูกิ ได้ออกเตือนถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินที่มากเกินไป และย้ำจุดยืนของญี่ปุ่นต่อการอ่อนค่าของเงินเยนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้สร้างความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น และส่งผลต่อการบริโภคและกำไรในธุรกิจค้าปลีก

ทางด้านนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะยังคงสนับสนุนการรักษาเงื่อนไขทางการเงินที่ผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการเติบโตของค่าจ้างและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและผลผลิตโรงงานที่ลดลงอย่างไม่คาดคิด อาจกระตุ้นให้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มแรงกดดันต่อการแทรกแซงค่าเงิน

ในโตเกียว ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงเดือนมีนาคม ควบคู่ไปกับการลดลงอย่างไม่คาดคิดของผลผลิตภาคโรงงาน ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกรอบเวลาของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น สำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้น หลังออกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินที่ใช้มายาวนาน

ทั้งนี้ ผลผลิตโรงงานในญี่ปุ่นลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนกุมภาพันธ์ ตรงกันข้ามกับการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยแม้ว่าผู้ผลิตคาดว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในเดือนมีนาคมและเมษายน แต่ยังคงมีความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการหยุดชะงักในการผลิตและการขนส่งในองค์กรสำคัญ อย่างเช่น Toyota Motor ในกลุ่มธุรกิจรถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง จากการมีอยู่ของบริษัทห่วงโซ่อุปทานจำนวนมากในภาคการผลิตของญี่ปุ่น ซึ่งแม้จะพบการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนมีนาคม แต่กิจกรรมโรงงานของญี่ปุ่นยังคงหดตัวติดต่อกันเป็นเวลา 10 เดือน โดยได้รับอิทธิพลจากการหดตัวของผลผลิตและคำสั่งซื้อที่น้อยลง

อย่างไรก็ดี การประชุม BOJ ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนเมษายนจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ แนวโน้มการเติบโต และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ โดยความสนใจของตลาดมุ่งเน้นไปที่ช่วงเวลาของการปรับอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นหลังออกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุด

โดยแม้จะมีความท้าทายต่างๆ เกิดขึ้น แต่บริษัทขนาดใหญ่ยังคงวางแผนที่จะเพิ่มรายจ่ายฝ่ายทุน แม้ว่าจะช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น ตอกย้ำถึงความสมดุลอันเปราะบางที่ BOJ จำต้องรักษาไว้ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และส่งผลกระทบต่อทั้งความเชื่อมั่นทางธุรกิจและมูลค่าของค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์

ทางด้านเงินดอลลาร์ยังคงค่อนข้างทรงตัวในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลที่บ่งชี้ว่าดัชนีราคาสหรัฐฯ ลดลง นำไปสู่การคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนที่จะถึง

โดยสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่าจะต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์โดยสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในเดือนที่แล้ว เน้นถึงความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ท่ามกลางเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แสดงความพอใจกับข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุด ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดก่อนหน้าหลังการประชุมนโยบายของเฟด

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของตลาดบ่งชี้ถึงความน่าจะเป็น 68.5% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน โดยเพิ่มขึ้นจาก 57% เมื่อปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามเครื่องมือ CME FedWatch ขณะที่นักวิเคราะห์จาก Citi คาดการณ์ว่า เฟดจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน โดยมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งหากกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพ และอาจถึง 5 ครั้งหากสภาวะตลาดแรงงานยังคงอ่อนตัวลง โดยแม้ว่าดัชนีราคาจะเพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดในเดือนกุมภาพันธ์ แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งช่วยหนุนเศรษฐกิจท่ามกลางต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ดี ข้อมูลการจ้างงานในสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้คาดว่าจะเป็นจุดสนใจหลัก ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับแนวโน้มของเศรษฐกิจไปสู่ "การลงจอดอย่างนุ่มนวล" จากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับปานกลางโดยไม่มีสัญญาณของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง โดยคาดว่าจะพบจำนวนงานเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม ลดลงเล็กน้อยจากจำนวนงานที่เพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่หลังการรายงานการจ้างงาน นักลงทุนยังคงติดตามข้อมูลเชิงลึกจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายราย รวมถึงประธานเจอโรม พาวเวลล์ ในวันพุธ ท่ามกลางการเฝ้าระวังการแทรกแซงที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินเยน และการเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ขณะที่ไตรมาสที่ ที่ได้เริ่มต้นขึ้น หลังจากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของตลาดหุ้นในไตรมาสที่ 1

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 151.37, 151.40, 151.46

แนวรับสำคัญ : 151.25, 151.22, 151.16                    

1H Outlook

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: TradingView                            

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 151.15 – 151.25 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 151.25 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.37 และ SL ที่ประมาณ 151.10 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 151.37 – 151.47 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.52 และ SL ที่ประมาณ 151.20 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 151.37 – 151.47 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 151.37 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.22 และ SL ที่ประมาณ 151.52 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 151.15 – 151.25 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.06 และ SL ที่ประมาณ 151.42 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Apr 1, 2024 09:43AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 151.08 151.16 151.22 151.31 151.37 151.46 151.52
Fibonacci 151.16 151.22 151.25 151.31 151.37 151.4 151.46
Camarilla 151.25 151.26 151.27 151.31 151.3 151.31 151.32
Woodie's 151.06 151.15 151.2 151.3 151.35 151.45 151.5
DeMark's - - 151.19 151.29 151.34 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES