บทวิเคราะห์ EUR/USD วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566

Create at 5 months ago (Nov 08, 2023 10:14)

EUR อ่อนค่าจากภาคการผลิตในเยอรมนีที่ซบเซา USD เผชิญความไม่แน่นอนในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

เงินยูโรอ่อนค่า หลังจากรายงานเผยว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนกันยายนลดลงเกินคาด โดยแม้ว่าก่อนหน้านี้เงินยูโรจะดีดตัวขึ้นมาแข็งค่าได้เล็กน้อย แต่ก็ต้องกลับตัวลงเมื่อค่าเงิน USD พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่เพิ่มขึ้น 1.5% หลังจากที่ร่วงลงก่อนหน้า

ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนกันยายนลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจคุกคามต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศหัวเรือใหญ่ของยุโรป สร้างความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจยานยนต์

โดยจากข้อมูลที่เปิดเผยโดย Destatis สำนักงานสถิติกลางของเยอรมนี ในเดือนกันยายน การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 1.4% เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.4% ขณะที่ไตรมาสที่สามพบผลการผลิตรวมลดลง 2.1% โดยภาคอุตสาหกรรมยานยนต์พบการผลิตรถยนต์ลดลง 5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า รวมไปถึงการลดลงในภาคภาคธุรกิจส่วนสำคัญอื่นๆ เช่น ธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้าและเภสัชกรรม

ทั้งนี้ ยูโรโซนคาดว่าจะพบการหดตัวเล็กน้อยหรือซบเซาในไตรมาสที่สี่ โดยอาจพบการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสที่สาม ซึ่งตัวชี้วัดเบื้องต้นอย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือนตุลาคม ได้ส่งสัญญาณถึงความท้าทายทางเศรษฐกิจเนื่องจากกิจกรรมทางธุรกิจที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การบริการ การผลิต และอุปสงค์ในหลายประเทศในยูโรโซน รวมถึงเยอรมนีและฝรั่งเศส ลดลง ตอกย้ำถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยูโรโซนอาจดีเกินความคาดหมายในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ภาคอสังหาริมทรัพย์ในเยอรมนีกลับเผชิญกับการหยุดชะงัก จากการยกเลิกโครงการก่อสร้างจำนวนมากเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เผชิญกับการล้มละลายและราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง

ทางด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 10 ครั้ง แต่ก็เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระมัดระวังอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงชี้ความเป็นไปได้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในอนาคต ขณะที่ตลาดเงินคาดการณ์ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก ECB เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจยูโรโซนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะถดถอย และมีภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจที่ตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐอเมริกา

อีกด้าน รัฐมนตรีคลังของสหภาพยุโรปเข้าใกล้การบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางการคลังใหม่สำหรับกลุ่ม 27 ประเทศ ในขณะที่ยังพบอุปสรรคสำคัญจากความแตกต่างเกี่ยวกับความเร็วในการปรับลดหนี้ในกลุ่มประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขกฎการคลังของสหภาพยุโรป ซึ่งถูกระงับมาตั้งแต่ปี 2020 และคาดว่าจะนำกลับมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2024

ทั้งนี้ กฎเกณฑ์ดังกล่าว จะกำหนดการจำกัดการขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะ ท่ามกลางการดุลงบประมาณในรัฐบาลยุโรปหลายแห่ง ในระหว่างที่ใช้งบประมาณในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประเด็นสำคัญยังคงอยู่ที่อัตราและความรวดเร็วในการปรับลดหนี้ โดยเยอรมนีสนับสนุนให้มีการบังคับการปรับลดหนี้ประจำปีอย่างน้อย 1% ของ GDP สำหรับประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมด ในขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรปและฝรั่งเศสเชื่อสนับสนุนการปรับลดหนี้เป็นระยะเวลาสี่ปี

ทางด้านราคาผู้ผลิตยูโรโซนในเดือนกันยายนเป็นไปตามคาด โดยเพิ่มขึ้น 0.5% จากเดือนก่อน แต่ลดลง 12.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ในขณะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นกลางและไม่คงทนลดลง 0.2% โดยแนวโน้มราคาผู้ผลิตเหล่านี้ เป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นของอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภค ซึ่งธนาคารกลางยุโรปตั้งเป้าที่จะลดลงสู่กรอบเป้าหมาย 2.0% จากอัตรา 4.2% ในเดือนตุลาคม ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบสองปี

ทั้งนี้ คริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB ยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของสถาบันในการบรรลุอัตราเงินเฟ้อ 2% ภายในปี 2025 นอกจากนี้ เธอยังเน้นย้ำถึงราคาอาหารที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากความไม่แน่นอนจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจทำให้ส่งผลรุนแรงขึ้นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดีดตัว แข็งค่าขึ้น และรักษาระดับไว้ได้ หลังจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลายรายแย้มเป็นนัยถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม รวมถึงนักลงทุนที่มองว่าการเทขายอย่างรวดเร็วจากสัปดาห์ก่อนมากเกินไปในระยะสั้น ส่งผลให้ตลาดเริ่มไม่แน่ใจว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ได้ถึงจุดสูงสุดแล้วหรือไม่ และ Fed จะเริ่มผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเมื่อใด

โดยตลาดฟิวเจอร์สระบุว่ามีโอกาสประมาณ 15% ที่เฟดอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนมกราคม และมีความน่าจะเป็น 22% ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นเดือนมีนาคม ตามที่ระบุโดยเครื่องมือ CME FedWatch

ทั้งนี้ หากพบการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนธันวาคม อาจเป็นการหนุนค่าเงิน USD ต่อไป และส่งแรงกดดันต่อคู่สกุลเงิน EUR/USD ได้ จึงอาจส่งผลให้เงินยูโรยังคงแนวโน้มถูกกดดันในกรอบขาลงได้อยู่บ้าง ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงความผันผวนและอาจปรับตัวขึ้นลงในกรอบขาชึ้นได้ในช่วงนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD EUR/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.0704, 1.0711, 1.0722

แนวรับสำคัญ : 1.0682, 1.0675 , 1.0664                       

5H Outlook

วิเคราะห์ EUR/USD ที่มา: Investing.com               

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0672 - 1.0682 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0682 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0710 และ SL ที่ประมาณ 1.0667 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0704 - 1.0714 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0728 และ SL ที่ประมาณ 1.0677 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0704 - 1.0714 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0704 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0681 และ SL ที่ประมาณ 1.0719 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0672 - 1.0682 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0660 และ SL ที่ประมาณ 1.0709 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Nov 08, 2023 09:58AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 1.0652 1.0664 1.0681 1.0693 1.0710 1.0722 1.0739
Fibonacci 1.0664 1.0675 1.0682 1.0693 1.0704 1.0711 1.0722
Camarilla 1.0691 1.0694 1.0696 1.0693 1.0702 1.0704 1.0707
Woodie's 1.0656 1.0666 1.0685 1.0695 1.0714 1.0724 1.0743
DeMark's - - 1.0687 1.0696 1.0716 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES