บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 22 กันยายน 2566

บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 22 กันยายน 2566
Create at 7 months ago (Sep 22, 2023 09:49)

USD ยังแข็งแกร่ง AUD เผชิญแรงกดดันท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจ

คู่สกุลเงิน AUD/USD เริ่มต้นเซสชั่นการซื้อขายในเอเชียช่วงเช้าวันศุกร์ทรงตัว และเผชิญกับแรงกดดันเทขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากทิศทางนโยบายล่าสุดของ Federal Reserve ในการคงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิมในวันพุธที่ผ่านมา และส่งสัญญาณเป็นนัยถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปลายปีนี้

ทางด้านข้อมูลล่าสุดของออสเตรเลียที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์บ่งชี้ถึงพัฒนาการเศรษฐกิจเชิงบวก โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Global Services PMIของ S&P ในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นเป็น 50.5 จาก 47.8 ในเดือนสิงหาคม บ่งชี้ถึงการขยายตัวในภาคส่วน แม้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตจะลดลงเหลือ 48.2 จากการอ่านค่าครั้งก่อนที่ 49.6

นอกจากนี้ ออสเตรเลียคาดว่าจะประกาศการเกินดุลงบประมาณจำนวน 22.1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (14.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งเป็นผลสำเร็จมาจากการเติบโตของงานที่แข็งแกร่งและผลกำไรจากธุรกิจเหมืองแร่ จึงถือเป็นการเกินดุลครั้งแรกในรอบ 15 ปี ภายใต้รัฐบาลพรรคแรงงาน โดยการเกินดุลในครั้งนี้คิดเป็นประมาณ 0.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในขณะที่รัฐบาลอาจจัดสรร 95% ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นในการปรับปรุงสถานะทางการเงินของงบประมาณ และอาจส่งผลให้หนี้สาธารณะโดยรวมลดลง 87.2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย รวมถึงลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยประมาณ 12 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในอีกห้าปีข้างหน้า ในปี 2569-27

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ว่าจะพบการขาดดุลงบประมาณในปีนี้ เนื่องจากแรงกดดันด้านการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนต่างๆ เช่น สุขภาพ พลังงาน และการป้องกันประเทศ อีกทั้ง ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาคาดว่าจะกดดันอุปสงค์ในประเทศ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้รับข้อมูลเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์แสดงให้เห็นถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม นอกจากนี้ ยอดขายบ้านมือสองพบว่าลดลงเหลือ 4.04 ล้าน เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนสิงหาคม ลดลงจากตัวเลขก่อนหน้านี้ที่ 4.07 ล้าน

การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในช่วง 5.25-5.50% ในวันพุธนั้นสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของธนาคารกลางในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ในงานแถลง และระบุความพร้อมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากเห็นว่าจำเป็น

แม้ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในวันพฤหัสบดี แต่ก็ยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการสื่อสารของธนาคารกลางสหรัฐฯ ถึงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่จะยังคงเข้มงวดต่อไปอีกระยะหนึ่ง

นอกจากนี้ ภูมิทัศน์ทางการเงินสหรัฐฯ ยังพบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบทศวรรษเมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการประกาศของธนาคารกลางสหรัฐฯ เรื่องการคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น บ่งบอกถึงการสิ้นสุดยุคอัตราดอกเบี้ยต่ำ และส่งผลกระทบอย่างเด่นชัดต่อตลาดโลก

ทั้งนี้ ในวันพฤหัสบดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 และ 30 ปี เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 จุด แตะที่ 4.47% และ 4.56% ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2007 ถึงเดือนเมษายน 2011 ในขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 2 ปีซึ่งอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของนโยบายได้ขยับเข้าใกล้ 5.2% ใกล้ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2006 นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังลดจำนวนที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับปี 2024 และปรับเพิ่มประมาณการเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย FFR ภายในสิ้นปี 2025

อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงติดตามข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจาก S&P Global/CIPS ของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนอย่างใกล้ชิด โดยคาดว่านักลงทุนจะใช้ตัวเลขดังกล่าวเป็นสัญญาณสำหรับโอกาสในการซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับคู่สกุลเงิน AUD/USD จึงคาดว่าจะส่งผลให้ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่ากว่าดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อาจพบแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบกว้างตามข้อมูลเศรษฐกิจที่จะเผยแพร่

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6418, 0.6423, 0.6429

แนวรับสำคัญ : 0.64060.64010.6395                        

5H Outlook             

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: Investing.com                                  

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6396 - 0.6406 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6406 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6421 และ SL ที่ประมาณ 0.6391 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6418 - 0.6428 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6435 และ SL ที่ประมาณ 0.6401 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6418 - 0.6428 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6418 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6404 และ SL ที่ประมาณ 0.6433 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6396 - 0.6406 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6390 และ SL ที่ประมาณ 0.6423 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Sep 22, 2023 09:34AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 0.6387 0.6395 0.6404 0.6412 0.6421 0.6429 0.6438
Fibonacci 0.6395 0.6401 0.6406 0.6412 0.6418 0.6423 0.6429
Camarilla 0.6408 0.6410 0.6411 0.6412 0.6415 0.6416 0.6418
Woodie's 0.6387 0.6395 0.6404 0.6412 0.6421 0.6429 0.6438
DeMark's - - 0.6399 0.6410 0.6417 - -

Sources: Investing Fxstreet

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES