ทองคำดิ่ง!! แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง DXY พุ่ง ขานรับถ้อยแถลงเชิง Hawkish

ทองคำดิ่ง!! แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง DXY พุ่ง ขานรับถ้อยแถลงเชิง Hawkish
Create at 1 year ago (Sep 27, 2022 12:37)
ข่าวทองคำวันนี้ ทองคำปิดดิ่งกว่า $20.86 หลังจากมีการประกาศนโยบายแบบตึงตัว ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเกือบ 1% ขณะที่ค่าเงินปอนด์ร่วงลงแตะ ATL จากความวิตกของภาวะทางการคลังของรัฐบาลอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้น Bond Yield พุ่งขึ้นหลังมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ทองคำมีการร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่งที่บริเวณ $1,621.89 ทางด้านกองทุน SPDR ถือทองลดลง -3.76 ตัน
 
ข่าว Forex
 
โดยการร่วงลงของทองคำ มีปัจจัยกดดัน ดังต่อไปนี้
 
1. ค่าเงินปอนด์ร่วงลงต่ำสุดที่ 1.0327 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะการคลังของรัฐบาลอังกฤษ หลังจากรัฐบาลเปิดเผยมาตรการปรับลดภาษีครั้งใหญ่ ก่อนลดช่วงติดลบหลังธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ส่งสัญญาณว่าจะจับตาอย่างใกล้ชิดและจะไม่ลังเลในการปรับอัตราดอกเบี้ยหากมีความจำเป็น BoE แม้ยังไม่มีแผนที่จะจัดการประชุมฉุกเฉินก็ตาม
 
2. ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ออกแถลงการณ์ระบุว่า BoE กำลังจับตาสถานการณ์ในตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด แต่ส่งสัญญาณว่า BoE ไม่มีแผนที่จะจัดการประชุมฉุกเฉินแต่อย่างใด
 
3. กองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -3.76 ตัน สู่ระดับ 943.47 ตัน ทำให้ปี 2022 กองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -32.19 ตัน
 
4. ดัชนีดอลลาร์ทำสถิติสูงสุดในรอบ 20 ปีครั้งใหม่ที่ 114.58 โดยได้แรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยืนยันว่า จะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ
 
5. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปี พุ่งขึ้นเหนือระดับ 4.3% แตะระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดระหว่างวันที่ 3.9% ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เมษายน 2010 ส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นตามบอนด์ยีลด์ในฝั่งยูโรโซนและอังกฤษ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางทั่วโลกจะคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
 
6. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 10 ปีแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ธันวาคม 2011 ที่ 2.132% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 2 ปีเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ธ.ค. 2008 ที่ 2.031% ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับคุมเข้มนโยบายการเงินมากขึ้น แม้จะมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และแรงขายพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษระลอกใหม่
 
7. คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป กล่าวย้ำา ECB จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินหลายครั้งถัด ๆ ไป แม้ว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงอย่างมาก
 
8. ลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดคลีฟแลนด์กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ "สูงในระดับที่ไม่อาจยอมรับได้" ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ควรขึ้นอัตราดอกเบี้ย และคงนโยบายเข้มงวดไว้สักระยะหนึ่ง โดยหากเกิดข้อผิดพลาดจะเป็นการ "ดีกว่า" ถ้าเฟดทำมากเกินไป (do too much) เมื่อเทียบกับการที่เฟดทำน้อยเกินไป (do too little)
 

9. ซูซาน คอลลินส์ ประธานเฟดบอสตัน กล่าวในวันจันทร์ว่า เฟดมุ่งมั่นที่จะลดอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงเหลือ 2% แม้ว่าจะส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจก็ตาม

 
ข่าว Forex
 
อย่างไรก็ตาม ในตลาดยังคงมีปัจจัยหนุนทองคำเช่นกัน ดังนี้
 
1. ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 329.60 จุด หรือ -1.11% โดยดาวโจนส์เข้าสู่ภาวะตลาดหมี (Bear Market) แล้วในวันจันทร์ (26 กันยายน 2022) หลังจากดัชนีทรุดตัวลงกว่า 20% จากระดับปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้เมื่อวันที่ 4 มกราคม ปีนี้ ท่ามกลางความวิตกว่า การที่เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญภาวะถดถอย
 
2. ดัชนี CBOE Volatility Index (VIX) ซึ่งเป็นมาตรวัดความวิตกของนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พุ่งขึ้นแตะระดับ 32.88 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน
 
3. ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโกเปิดเผยว่า ดัชนี Chicago Fed National Activity Index (CFNAI) ปรับตัวลงสู่ระดับ 0.00 ในเดือนส.ค. จากระดับ +0.29 ในเดือนกรกฎาคม
 
จากข้อมูลข้างต้น นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ได้ถึงปัจจัยหนุน และกดดันทองคำ โดยการร่วงลงของดัชนดาวโจนส์ จากการที่เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ทองคำร่วงลง ท่ามกลางปัจจัยกดดันต่าง ๆ ซึ่งคาดว่า ทองคำจะยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรตาม นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์ และข่าวสารต่อไปอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกัน เนื่องจากภาวะสงครามและความขัดแย้งก็ยังเป็นที่น่ากังวล
 
ที่มา: CNBCCNNSPDRKitcoInvesting, ReutersBloombergFxstreet 
อ่านเพิ่มเติม: News, GoldDollar
____________________________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
 
 
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES