วันศุกร์ ทองคำ พุ่งทะยาน 2,500 จุด หลังเผชิญแรง Buy the dip ท่ามกลางความวิตกเศรษฐกิจถดถอย!!!

วันศุกร์ ทองคำ พุ่งทะยาน 2,500 จุด หลังเผชิญแรง Buy the dip ท่ามกลางความวิตกเศรษฐกิจถดถอย!!!
Create at 1 year ago (Jul 04, 2022 11:43)

วันศุกร์ (1 ก.ค.) ทองคำ ดิ่งลงกว่า 2,200 จุด จาก High $1,806 สู่ Low $1,784 หลังนักลงทุนหวั่นเศรษฐกิจถดถอย!!! ก่อนจะเผชิญแรง Buy the dip รวมทั้งการร่วงลงของ Bond Yield หนุนทองฟื้นตัว พุ่งทะยาน 2,500 จุด สู่ $1,809 และปิดตลาดแดนบวก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคา ทองคำ ได้ปรับตัวขึ้นมาที่ $1,811 ณ เวลาที่เขียน

 
วันศุกร์ ดัชนีดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 0.32% แตะที่ระดับ 105.07 เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย (กดดันทองคำ)
 
S&P Global
 
ส่วนปอนด์ อ่อนค่าลง หลัง S&P Global / CIPS เปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหราชอาณาจักร ปรับตัวลงสู่ระดับ 52.8 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี จากระดับ 54.6 ในเดือน พ.ค. (กดดันทองคำ)
 
S&P Global เปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 52.7 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2563 และต่ำกว่าระดับ 57.0 ในเดือน พ.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 52.4 (กดดันทองคำ)
 
วันศุกร์ ดัชนี Dow Jones ปิดเพิ่มขึ้น 321.83 จุด หรือ +1.05%, ดัชนี S&P500 ปิด +1.06% และดัชนี Nasdaq ปิด +0.90% เนื่องจากนักลงทุนได้เข้าซื้อหุ้นในวันแรกของช่วงครึ่งปีหลัง (กดดันทองคำ)
 
ทองคำ
 
Fabio Panetta สมาชิกคณะกรรมการ ECB กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า ECB กำลังจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกจากแดนติดลบ แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เกินกว่านั้นจะขึ้นอยู่กับข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เข้ามาเนื่องจากแนวโน้มนั้นไม่แน่นอน (กดดันทองคำ)
 
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ -8.41 ตัน สู่ระดับ 1,041.90 ตัน ทำให้ปี 2565 กองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม 66.24 ตัน (กดดันทองคำ)
 
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะกดดราคา ทองคำ ดิ่งฮวบลง เทส $1,784 แต่ปัจจัยในด้านของ Bond Yield อายุ 10 ปี ที่ร่วงลงสู่ระดับ 2.882% จากแรงซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (หนุนทองคำ)
 
ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ
 
สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ ดิ่งลงสู่ระดับ 53.0 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 54.9 จากระดับ 56.1 ในเดือน พ.ค. (หนุนทองคำ)
 
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุด แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มหดตัว 1.0% ในไตรมาส 2/65 จากเดิมที่บ่งชี้ว่า มีแนวโน้มขยายตัว 0.3% (หนุนทองคำ)
 
Gold
 
หนังสือพิมพ์ The New York Times เปิดเผยผลสำรวจ ระบุว่า ชาวอเมริกันในช่วงวัยทำงาน จำนวน 52% ยอมรับว่า พวกเขามีสถานะทางการเงินย่ำแย่กว่าในปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขดังกล่าว สูงกว่าระดับ 41% ในการสำรวจเดือน เม.ย. และเป็นระดับสูงสุด นับตั้งแต่ที่มีการสำรวจเมื่อ 5 ปีก่อน (หนุนทองคำ)
 
ทองคำ
 
พลเอกมาร์ก มิลลีย์ (Mark Milley) ประธานผู้บัญชาการร่วมกองกำลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การโจมตีไต้หวันของจีนจะยังคงไม่เกิดขึ้น แต่สหรัฐฯ จะจับตาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป (หนุนทองคำ)
 
ทองคำ
 
นายคิริล เพตคอฟ (Kiril Petkov) นายกรัฐมนตรีบัลแกเรีย ปฏิเสธคำขู่ของรัสเซียที่ต้องการให้รัฐบาลทบทวนการตัดสินใจในการขับไล่นักการทูตรัสเซียออกจากประเทศ (หนุนทองคำ)
 
วอยเอเจอร์ ดิจิทัล (Voyager Digital) โบรกเกอร์สินทรัพย์ดิจิทัลของสหรัฐฯ เปิดเผยแถลงการณ์ในวันศุกร์ (1 ก.ค.) ระบุว่า บริษัทได้สั่งระงับการซื้อขายทั้งหมดของลูกค้า รวมถึงการฝาก การถอน และการแจกรางวัลให้กับลูกค้า (หนุนทองคำ)
 
อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม รวมถึง ควรมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
 
ที่มา: CNBCSPDRKitcoInvesting, ReutersBloombergFxstreet 
อ่านเพิ่มเติม: News, GoldDollar

การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY

ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง วันศุกร์ ทองคำ ดิ่งลงกว่า 2,200 จุด จาก High $1,806 สู่ Low $1,784 ก่อนจะเผชิญแรง Buy the dip หนุนทองฟื้นตัว พุ่งทะยาน 2,500 จุด สู่ $1,809 และปิดตลาดแดนบวก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคา ทองคำ ได้ปรับตัวขึ้นมาที่ $1,811 ณ เวลาที่เขียน
 
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ สามารถมองได้ว่า ทองคำ กำลังวิ่งในแนวโน้มขาลง (Downtrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟ Breakout กรอบเส้นเทรนด์ไลน์สีชมพู ลงไปเทส $1,784 และยังไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านสำคัญ โซน $1,825 ได้ (กราฟเป็นไปตามที่วิเคราะห์เมื่อวันศุกร์ โดยดิ่งลงมาที่ Demand Zone บริเวณ $1,784 ก่อนจะดีดตัวขึ้นไป Test ที่ $1,805 / $1,810) รวมทั้งการที่กราฟวิ่งต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย EMA100 และ EMA200 บ่งบอกถึงแรง Sell ที่ยังคงมีอยู่ในตลาด
 
อย่างไรก็ดี ในภาพรวมระยะสั้น ฝั่ง Buyer อาจมีความได้เปรียบ โดยกราฟยังคงมีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญที่โซน $1,816-$1,825 (ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Sell ได้) โดยหากกราฟไม่สามารถพุ่งขึ้นทะลุแนวต้านสำคัญดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวลงมาทดสอบแนวรับที่ $1,805 / $1,799 / $1,789 ตามลำดับ (โซนนี้สามารถ Buy ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถพุ่งขึ้นทะลุโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่โซน $1,833 ซึ่งถ้าหากกราฟพุ่งขึ้นเข้าสู่โซนสีแดง ให้ยอมแพ้ก่อน (Stop Loss) แล้วรอเข้าออเดอร์ใหม่อีกครั้งในโซนนัยสำคัญ (Supply Zone) อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,816 / 1,825 / 1,833
แนวรับสำคัญ: 1,805 / 1,799 / 1,789
 
บทวิเคราะห์ทองคำ
 
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: คลิกที่นี่
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: คลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES