กระทิงเยือนตลาด !! ดัชนีดอลลาร์ +0.23% หลังตลาดหุ้นสหรัฐร่วง เหตุความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย

กระทิงเยือนตลาด !! ดัชนีดอลลาร์ +0.23% หลังตลาดหุ้นสหรัฐร่วง เหตุความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย
Create at 1 year ago (Jun 09, 2022 11:00)

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.23% สู่ระดับ 102.543 เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงแรงกระตุ้นความต้องการดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้ปรับตัวลงมาเล็กน้อยที่ระดับ 102.463

 

Bond Yield 10 ปีของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.029% หลังจากการดีมานด์ในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวานนี้เป็นไปอย่างซบเซา

 

ดีมานด์ในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีมูลค่า 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์เป็นไปอย่างซบเซา โดย Bid coverage ratio ที่เป็นมาตรวัดความต้องการครั้งนี้อยู่ที่ 2.41 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ พ.ย. ปีที่แล้ว

 

นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 8% เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ถือเป็นเป้าหมายที่มีความเหมาะสม 

 

 นางเจเน็ต เยลเลน รมว. คลังสหรัฐ กล่าวเมื่อวันพุธว่าฝ่ายบริหารของไบเดนกำลัง "กำหนดค่า" อัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนใหม่ แต่เตือนว่าการลดภาษีนำเข้าสินค้าจีนดังกล่าวจะไม่เป็น “ยาครอบจักรวาล” ในการบรรเทาเงินเฟ้อสูง 

 

กระทิงเยือนตลาด !! ดัชนีดอลลาร์ +0.23% หลังตลาดหุ้นสหรัฐร่วง เหตุความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย

 

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะหนุนดัชนีดอลลาร์ดีดตัวขึ้น แต่ในด้านยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0718 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0710 ดอลลาร์ หลังมีกระแสคาดการณ์ว่า ในการประชุมนโยบายการเงินวันนี้ ECB จะส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งในเดือน ก.ค. และ ก.ย. เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ สกัดช่วงบวกดัชนีดอลลาร์

 

ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 269.24 จุด หรือ -0.81%, ดัชนี S&P500 ปิด -1.08% และดัชนี Nasdaq ปิด -0.73% เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจเผชิญภาวะถดถอย จากการที่เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

 

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.1% หลังจากเพิ่มขึ้น 2.7% ในเดือน มี.ค.

 

ด้านของสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 สัปดาห์ในวันพุธ (8 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย ซึ่งบ่งชี้ว่าความต้องการเชื้อเพลิงในสหรัฐยังคงเพิ่มขึ้น

 

OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.0% ในปีนี้ ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ 4.5% ในเดือน ธ.ค. 2021 โดยได้รับผลกระทบจากการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งการปิดเมืองและท่าเรือตามนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน ซึ่งกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ

 

นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่า ก่อนที่รัสเซียจะส่งออกธัญพืชออกสู่ตลาดระหว่างประเทศ สหรัฐและชาติตะวันตกจะต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียเสียก่อน

 

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ

 

Source: CNBCSPDRKitcoInvesting ReutersBloombergFxstreet 

การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY

ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ดัชนีดอลลาร์ +0.23% สู่ระดับ 102.543 ก่อนจะปรับตัวลงมาเล็กน้อยที่ระดับ 102.463 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ สามารถมองว่าดอลลาร์ยังวิ่งในแนวโน้มขาขึ้นได้ (Uptrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟไม่สามารถร่วงทะลุแนวต้านใหญ่โซนระดับ 102.300 ได้ รวมทั้งยังวิ่งเหนือเส้นเทรนด์ไลน์สีฟ้า ซึ่งในระยะสั้นฝั่ง Buyer ยังคงมีความได้เปรียบ อย่างไรก็ดี กราฟมีโอกาสกลับลงมาทดสอบแนวรับสำคัญที่โซนระดับ 102.300-102.225 ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Buy ได้ โดยหากไม่สามารถร่วงลงทะลุแนวรับสำคัญดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ระดับ 102.730 / 102.924 / 103.091 ตามลำดับ (โซนนี้ สามารถ Sell ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถร่วงทะลุโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสดิ่งลงไปทดสอบแนวรับที่โซนระดับ 102.060 ซึ่งถ้ากราฟร่วงลงมาทะลุโซน 102.200 ให้ยอมแพ้ (SL) เพื่อรอจังหวะเข้า Buy อีกครั้งในโซน Demand Zone อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ

แนวต้านสำคัญ: 102.730 / 102.924 / 103.091

แนวรับสำคัญ: 102.396 / 102.225 / 102.060

 

กระทิงเยือนตลาด !! ดัชนีดอลลาร์ +0.23% หลังตลาดหุ้นสหรัฐร่วง เหตุความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย

Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES