ทองทำ High ในรอบ 8 เดือน ที่ $1,914 หลังวิกฤติยูเครนตึงเครียดอีกครั้ง

ทองทำ High ในรอบ 8 เดือน ที่ $1,914 หลังวิกฤติยูเครนตึงเครียดอีกครั้ง
Create at 2 years ago (Feb 22, 2022 11:24)

ทองปิดบวกกว่า $8 เนื่องจากวิกฤติยูเครนตึงเครียดอีกครั้ง หลังเครมลินชี้ยังไม่มีแผนจัดการประชุมปูติน-ไบเดน ขณะเดียวกันล่าสุด ปธน.ปูตินประกาศรับรองเอกราช 2 แคว้นกบฎยูเครน กระตุ้นให้นักลงทุนซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หนุนทะยานจาก Low 1,887 ทำ High รอบเกือบ 8 เดือนที่ $1,914 อย่างไรก็ตามปัจจุบันทองคำได้ปรับตัวลงมาที่ $1,908 ณ เวลาที่เขียน ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ +0.14% แตะที่ระดับ 96.22 เช้านี้ 

 
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศรับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน และเป็นพื้นที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ฝักใฝ่รัสเซีย
 
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ได้สั่งการให้กองกำลังทหารรัสเซียเข้าประจำการในสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน
 
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งพิเศษฝ่ายบริหาร (Executive Orders) เพื่อห้ามไม่ให้มีการค้าและการลงทุนระหว่างบุคคลระหว่างสหรัฐและ 2 แคว้นกบฎในยูเครนตะวันออก (สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์) ที่รัสเซียเพิ่มรับรองเป็นเอกราชเมื่อวันจันทร์ 
 
อังกฤษเตรียมจะประกาศมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียในวันอังคารนี้ พร้อมเตือนว่ารัสเซียอาจบุกยูเครนในเร็ว ๆ นี้ โดยประณามประธานาธิบดีปูติน ที่ลงนามรับรองเอกราช 2 แคว้นกบฎในยูเครนตะวันออก ชี้เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
 
กองทัพรัสเซียเปิดเผยว่า กองกำลังรัสเซียได้สังหารผู้ก่อวินาศกรรมไป 5 ราย โดยอ้างว่าคนกลุ่มนี้มาจากยูเครนโดยแอบข้ามพรมแดนทางตะวันตกเฉียงใต้เพื่อเข้ารัสเซีย  แต่กองทัพยูเครนได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวอ้างจากฝั่งรัสเซีย
 
เช้านี้ สัญญาฟิวเจอร์สดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 476 จุด หรือ -1.4%  ส่วนสัญญาฟิวเจอร์ส S&P 500 ปรับตัว -1.7% และสัญญาฟิวเจอร์ส Nasdaq ลดลง -2.2% ฟิวเจอร์สของหุ้นร่วงลงอย่างรวดเร็วในคืนวันจันทร์ เนื่องจากผู้ค้ายังคงติดตามความตึงเครียดด้านการผลิตเบียร์ระหว่างรัสเซียและยูเครน
 
ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิต-บริการขั้นต้นเดือนก.พ.ของยูโรโซน อยู่ที่ระดับ 55.8 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 เดือน เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.3 ในเดือนม.ค.
 
ค่าเงินเยนในฐานะสกุลเงินปลอดภัยแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 สัปดาห์ ส่วนค่าเงินยูโรและสกุลเงินเสี่ยงอ่อนค่าลงในวันอังคาร หลังรัสเซียสั่งให้กองกำลังทางการทหารเข้าไปในพื้นที่ 2 แคว้นกบฎในยูเครนตะวันออก และภูมิภาคนี้อยู่ในภาวะใกล้เกิดสงคราม
 
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงในวันจันทร์ (21 ก.พ.) ลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน โดยหุ้นกลุ่มรถยนต์และกลุ่มเทคโนโลยีนำตลาดร่วงลง หลังจากความเห็นของรัสเซียทำลายความหวังเกี่ยวกับการคลี่คลายวิกฤตทางทหารครั้งใหญ่สุดในรอบหลายสิบปี
 
น้ำมัน WTI พุ่งเกือบ 3.7% กังวลไฟสงครามหลังปูตินรับรองเอกราชแคว้นกบฎยูเครน
 
แม้ปัจจัยต่างๆจะหนุนราคาทองคำ แต่ในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 4/2021 ของเยอรมนีหดตัวลง 0.7% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งรุนแรงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดกว่าจะหดตัวเพียง 0.3% เนื่องจากมาตรการสกัดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
 
นายซาอีด คาตีซาเดค โฆษกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่านเปิดเผยในวันนี้ว่า การเจรจาเพื่อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2558 ระหว่างอิหร่านและบรรดาชาติมหาอำนาจซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียนั้น มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ
 
นางมิเชล โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการเฟดกล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า เธอจะประเมินข้อมูลเศรษฐกิจที่เข้ามาในช่วง 3 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อตัดสินใจว่าจะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในการประชุมเดือนมี.ค.หรือไม่  แต่ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่าเฟดควรจะขึ้นดำเนินการเช่นนั้นหรือไม่
 
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 4 ชั่วโมง ทองปิดบวกกว่า $8 ทะยานจาก Low 1,887 ทำ High รอบเกือบ 9 เดือนที่ $1,914 โดยปัจจุบันได้ปรับตัวลงมาที่ $1,908 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตามแนวโน้มการวิ่งของกราฟยังเป็น Uptrend หากมองในมุมที่กราฟสามารถยืนเหนือเส้นเทรนด์ไลน์สีแดงที่โซน $1,889 และกราฟสามารถยืนเหนือเส้น EMA ทุกค่าได้ รวมทั้งยังไม่สามารถกลับมา Re-test เทรนด์ไลน์สีแดงได้ อย่างไรก็ดี หากไม่สามารถร่วงลงมาทะลุแนวรับและดีมานด์โซน บริเวณ $1,890-$1,887 ได้ ก็มีโอกาสกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ $1,914 / $1,924 / $1,933 ตามลำดับ
แนวต้านสำคัญ : 1,914 / 1,924 / 1,933
แนวรับสำคัญ : 1,900 / 1,889 / 1,877
 
 
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES