บทวิเคราะห์ USD/EUR 15 พฤษภาคม 2567

Create at 2 months ago (May 15, 2024 18:01)

ธนาคารกลางยุโรปอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไม่กี่เดือนข้างหน้า

เงินยูโรแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยนักลงทุนจับตาดูข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ, GDP ในไตรมาสแรกและตัวเลขการจ้างงานของยูโรโซน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อนโยบายการเงินในอนาคต ซึ่งนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางยุโรปอาจจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกภายในไตรมาสที่ 2 ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มว่าจะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ช้ากว่านั้น โดยหวังว่า ECB จะลดอัตราดอกเบี้ยลงประมาณ 70 bps และ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 45 bps ภายในปีนี้

 

อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนยังคงทรงตัวอยู่ที่ 2.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มสินค้าส่วนใหญ่ยังคงมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะราคาพลังงานที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่ผันผวน พบว่าลดลงเหลือ 2.7% จาก 2.9% แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในปีที่ผ่านมา


เศรษฐกิจของยูโรโซนยังคงขยายตัว 0.3% ในไตรมาสแรกของปี 2024 สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยเพียง 0.1% หลังจากติดลบในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา โดยแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเศรษฐกิจที่ยังสามารถเติบโตได้แม้จะต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันด้านอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนที่สูงขึ้นจากอะตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ GDP ที่ขยายตัวขึ้นยังช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับธนาคารกลางยุโรปในการตัดสินใจว่าอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้น้อยกว่าที่คาดไว้ในปีนี้ โดย GDP ของสเปนขยายตัวมากที่สุดที่ 0.7% รองลงมาคืออิตาลีที่ขยายตัว 0.3%

 

ผู้กำหนดนโยบายของ ECB กำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น ตามการรายงานการประชุม ECB ครั้งล่าสุด ในขณะที่รอข้อมูลเพิ่มเติม โดยอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานที่ลดลง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้ออาจกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งจากแรงกดดันด้านราคาที่ยังคงมีอยู่ รวมไปถึงการเติบโตของค่าจ้างที่แข็งแกร่ง อาจเป็นแรงผลักดันที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่ได้ลดลงอย่างที่คาดไว้ ทั้งนี้ ความสามารถในการเติบโตของยูโรโซนโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อาจใทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าช้าลงไปอีก

 

Services PMI เพิ่มขึ้นเป็น 53.3 ในเดือนเมษายน นับเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 1 ปี แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเติบโตของกิจกรรมในภาคการบริการ โดยปริมาณธุรกิจเกิดใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ยังมีข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตทำให้ผลผลิตที่สามารถทำได้ยังไม่สูงมากนัก ด้านการจ้างงานยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความร้อนแรงของภาคการบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.924, 0.9246, 0.925

แนวรับสำคัญ: 0.9231, 0.9226, 0.9221

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9226 - 0.9231 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9231 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9246 และ SL ที่ประมาณ 0.9221 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.924 - 0.9246 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.925 และ SL ที่ประมาณ 0.9226 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.924 - 0.9246 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.924 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9226 และ SL ที่ประมาณ 0.925 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9226 - 0.9231 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9221 และ SL ที่ประมาณ 0.9246 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 15 พฤษภาคม 2567 17:59 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9221 0.9226 0.9231 0.9236 0.924 0.9246 0.925
Fibonacci 0.9226 0.923 0.9232 0.9236 0.924 0.9242 0.9246
Camarilla 0.9233 0.9234 0.9235 0.9236 0.9236 0.9237 0.9238
Woodie's 0.9221 0.9226 0.9231 0.9236 0.924 0.9246 0.925
DeMark's - - 0.9229 0.9235 0.9238 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES