บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 8 พฤษภาคม 2567

Create at 1 week ago (May 08, 2024 10:25)

ญี่ปุ่นเล็งลดหย่อนภาษีธุรกิจในต่างประเทศ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจส่งสัญญาณไม่แน่ชัด

เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน โดยได้แรงหนุนจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ท่ามกลางคำเตือนจากทางการญี่ปุ่นเกี่ยวกับการแทรกแซงค่าเงิน ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยตามที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดการณ์ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและอัตราเงินเฟ้อที่อาจสูงขึ้นในปีต่อๆ ไป เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นและมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลที่ลดลง

โดยธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้แก้ไขการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภคในปีงบประมาณ 2024 อยู่ในช่วงระหว่าง 2.6% ถึง 3% เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 2.2% ถึง 2.5% อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม GDP ได้รับการแก้ไขลดลงในปีงบประมาณ 2024 และ 2025 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ ทางการญี่ปุ่นได้เน้นย้ำถึงความพร้อมในการเข้าแทรกแซงตลาดสกุลเงินเพื่อสนับสนุนเงินเยน โดยคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น เน้นย้ำถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเงินเยนที่ร่วงลงต่ออัตราเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยแม้จะส่งผลดีสำหรับผู้ส่งออก แต่ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าได้ก่อให้เกิดความท้าทาย เช่น ต้นทุนการนำเข้า และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

อีกด้าน พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ของญี่ปุ่น กำลังชั่งน้ำหนักการลดหย่อนภาษีสำหรับบริษัทต่างๆ ที่ส่งกำไรจากต่างประเทศกลับยังประเทศ เพื่อชะลอการอ่อนค่าของเงินเยน โดยแม้ว่าข้อเสนอดังกล่าวอาจรวมอยู่ในพิมพ์เขียวนโยบายกลางปี แต่ผลกระทบยังคงไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการที่นำโดยเจ้าหน้าที่สกุลเงินชั้นนำ มาซาโตะ คันดะ ตั้งเป้าที่จะทบทวนดุลการชำระเงินของญี่ปุ่นภายในเดือนมิถุนายน

ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจ การผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเกินความคาดหมายในเดือนมีนาคม ส่งสัญญาณที่ดีขึ้นในภาคการผลิตหลังจากการลดลงสองเดือนติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ยอดค้าปลีกเติบโตน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งบ่งบอกถึงความอ่อนแออย่างต่อเนื่องในการใช้จ่ายของผู้บริโภคแม้จะมีการเพิ่มค่าจ้าง ซึ่งอาจนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลงในอนาคต

นอกจากนี้ การควบคุมการส่งออกที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์ที่เสนอโดยญี่ปุ่นได้ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการค้าระหว่างวิสาหกิจของจีนและญี่ปุ่น ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ของจีน ขณะที่กิจกรรมภาคบริการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายทางธุรกิจและผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในเดือนมีนาคม เน้นย้ำถึงความท้าทายที่ผู้กำหนดนโยบายต้องเผชิญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

ในด้านการผลิต กิจกรรมโรงงานหดตัวในอัตราที่ช้าลงในเดือนเมษายน โดยบริษัทต่างๆ ประสบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ แต่ยังคงได้รับประโยชน์จากความต้องการของตลาดที่แข็งแกร่ง โดยแม้จะมีตัวชี้วัดที่หลากหลาย แต่นักวิเคราะห์ก็คาดการณ์ว่าผลผลิตจากโรงงานและยอดค้าปลีกจะฟื้นตัวขึ้น ซึ่งอาจส่งสัญญาณถึงโมเมนตัมเชิงบวกสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังจากช่วงการเติบโตที่ซบเซา

ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากนักลงทุนที่ได้วิเคราะห์ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ขณะที่ความคาดหวังของตลาดสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหลังจากการประชุมเฟดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วและรายงานการจ้างงานในสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง โดยคาดว่าโอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนจะอยู่ที่ 64.5% ตามรายงานของ FedWatch Tool จาก CME

อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบาง จุดสนใจจึงอยู่ที่คำกล่าวจากเจ้าหน้าที่ Fed ที่กำลังจะมีขึ้นในปลายสัปดาห์นี้ ในขณะที่ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนมีกำหนดเผยแพร่ในวันศุกร์ จึงอาจส่งผลให้เงินเยนทรงตัวซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบัน และคงความอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อย่างต่อเนื่องในระยะนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 155.23, 155.26, 155.30

แนวรับสำคัญ : 155.15, 155.12 , 155.08      

30Min Outlook            

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: TradingView           

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 155.05 – 155.15 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 155.15 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.23 และ SL ที่ประมาณ 155.00 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 155.23 – 155.33 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.40 และ SL ที่ประมาณ 155.10 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 155.23 – 155.33 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 155.23 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.12 และ SL ที่ประมาณ 155.38 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 155.05 – 155.15 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.00 และ SL ที่ประมาณ 155.28 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points May 8, 2024 10:04AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 155 155.08 155.12 155.19 155.23 155.3 155.34
Fibonacci 155.08 155.12 155.15 155.19 155.23 155.26 155.3
Camarilla 155.13 155.14 155.15 155.19 155.17 155.18 155.19
Woodie's 155 155.08 155.12 155.19 155.23 155.3 155.34
DeMark's - - 155.11 155.19 155.22 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES