บทวิเคราะห์ GBP/USD วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567

Create at 2 months ago (Feb 16, 2024 10:09)

อังกฤษเข้าสู่ภาวะถดถอย เงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดแข็งค่าท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ

ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 สหราชอาณาจักรเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจหลังจากเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นสำหรับนายกรัฐมนตรี ริชิ ซูนัก ที่ให้คำมั่นถึงการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

โดยข้อมูลอย่างเป็นทางการเผยให้เห็นการหดตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 0.3% ในช่วงสามเดือนหลังถึงเดือนธันวาคม มากกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลง 0.1% โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งมากกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้ค่าเงินสเตอร์ลิงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโร ขณะที่นักลงทุนเพิ่มเดิมพันเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE) ท่ามกลางภาคธุรกิจต่างๆ ที่คาดหวังถึงการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มเติม จากแผนงบประมาณที่มีกำหนดไว้ในวันที่ 6 มีนาคม

ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ทำให้อังกฤษตกอยู่ในสถานะเดียวกับญี่ปุ่นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วทั้ง 7 แม้จะถูกคาดว่าจะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ และไม่ลึกมาก โดยเจเรมี ฮันต์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ยังคงแสดงมุมมองในเชิงบวกเกี่ยวกับสัญญาณของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้น แต่ยังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการยึดมั่นในแผนการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการลดภาษีสำหรับการทำงานและธุรกิจ

ทางด้านอัตราเงินเฟ้อซึ่งยังคงอยู่ที่ 4.0% ในเดือนมกราคม ยังคงเป็นหัวข้อถกเถียงในหมู่นักลงทุน โดยมีการคาดเดาเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ BoE ที่อาจเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ขณะที่ผู้ว่าการแอนดรูว์ เบลีย์ยังคงต้องการหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง ท่ามกลางผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ลดลง 0.1% ในเดือนธันวาคม จากการลดลงในภาคการผลิต การก่อสร้าง และการขายส่ง รวมถึงการเติบโตของ GDP ต่อหัวที่ยังคงไม่พบการปรับปรุงที่ดีขึ้นและสร้างแนวโน้มตกต่ำเป็นประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ต้นปี 2022

ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษยังคงกังวลถึงค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อของภาคบริการ และอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลล่าสุดระบุว่าค่าจ้างปกติเพิ่มขึ้น 6.2% ต่อปีในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ซึ่งแม้จะเป็นอัตราที่ช้าที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปี แต่ยังคงความเร็วเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าต่อการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ที่ยั่งยืน

ในทางตรงกันข้าม ราคาบ้านในอังกฤษมีอัตราการเติบโต 2.5% ต่อปีในเดือนมกราคม ซึ่งส่งสัญญาณถึงโมเมนตัมที่อาจเกิดขึ้นในตลาดที่อยู่อาศัย ขณะที่ธนาคารแห่งอังกฤษระบุว่าความยืดหยุ่นในตลาดที่อยู่อาศัย เป็นตัวบ่งชี้อุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด เมื่อพิจารณาถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เจเรมี ฮันต์ ได้ตั้งเป้าที่จะลดการใช้จ่ายสาธารณะเพื่อเป็นทุนสำหรับนโยบายการลดภาษีก่อนการเลือกตั้งในงบประมาณเดือนมีนาคม โดยมีการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจำกัดการใช้จ่ายเพิ่มเติมและการลดการใช้จ่ายที่คาดการณ์ไว้ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความรอบคอบทางการคลังเมื่อพิจารณาถึงสภาพทางการเงินที่ตึงตัว

ทางด้านสหรัฐฯ พบกับข้อมูลเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งนำไปสู่เงินดอลลาร์ที่ร่วงลงติดต่อกันสองเซสชั่น ขณะที่ยอดค้าปลีกในเดือนมกราคมต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ท่ามกลางคำแนะนำให้ใช้ความระมัดระวังในการตีความถึงการลดลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากพายุฤดูหนาว ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมอ่อนตัวลง โดยพบดัชนีการผลิตของ Empire State และ Philadelphia Fed มีการปรับปรุงดีขึ้น

ในขณะเดียวกัน คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ เน้นย้ำถึงสถานะผู้นำตลาดของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างถึงข้อได้เปรียบเหนือตัวเลือกอื่นๆ ซึ่งถึงแม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อสถานะของเงินดอลลาร์ แต่การพัฒนาล่าสุดที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับบทบาทของเงินดอลลาร์ในเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ ตลาดฟิวเจอร์สกองทุนของรัฐบาลกลาง (FFR) ระบุถึงความน่าจะเป็น 83% ที่จะพบการผ่อนคลายอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกที่อาจเกิดขึ้นในการประชุมเดือนมิถุนายน โดยคาดว่าจะพบการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3-4 ครั้งในปีนี้ จึงอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจยังคงแนวโน้มแข็งค่ากว่าเงินปอนด์ได้อยู่เล็กน้อยในช่วงนี้ โดยอาจพบการซื้อขายขึ้นลงในแนวเส้นปัจจุบันได้ในกรอบแคบๆ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD GBP/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.2590, 1.2592, 1.2596

แนวรับสำคัญ : 1.2582, 1.2580, 1.2576                                 

1H Outlook                           

วิเคราะห์ GBP/USD ที่มา: Investing.com         

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2577 - 1.2582 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2582 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2592 และ SL ที่ประมาณ 1.2575 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2590 - 1.2595 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2602 และ SL ที่ประมาณ 1.2580 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2590 - 1.2595 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.2590 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2582 และ SL ที่ประมาณ 1.2597 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2577 - 1.2582 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2572 และ SL ที่ประมาณ 1.2592 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Feb 16, 2024 09:24AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.2572 1.2576 1.2582 1.2586 1.2592 1.2596 1.2602
Fibonacci 1.2576 1.258 1.2582 1.2586 1.259 1.2592 1.2596
Camarilla 1.2585 1.2586 1.2587 1.2586 1.2589 1.259 1.2591
Woodie's 1.2574 1.2577 1.2584 1.2587 1.2594 1.2597 1.2604
DeMark's - - 1.2584 1.2587 1.2594 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES