บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 23 มกราคม 2567

Create at 3 months ago (Jan 23, 2024 15:08)

ท่ามกลางการจ้างงานที่ลดลงในออสเตรเลีย ตลาดแรงงานยังคงความยืดหยุ่น

ในเดือนธันวาคม ออสเตรเลียเผชิญกับการจ้างงานที่ลดลง โดยพลิกกลับหลังการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วงสองเดือน ในขณะที่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 1-1/2 ปี โดยอัตราการว่างงานทรงตัวที่ 3.9% ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 ขณะที่อัตราการมีส่วนร่วมในภาคแรงงานลดลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 67.3% เหลือ 66.8% โดยการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนก่อนหน้านี้ มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ้างงานในช่วงปลายปี ตามข้อมูลของ ABS

อย่างไรก็ดี แม้ว่าตลาดแรงงานจะลดลงในเดือนธันวาคม แต่ตลาดแรงงานของออสเตรเลียยังคงฟื้นตัวได้ดี โดยตลาดงานยังคงแข็งแกร่ง และได้รับแรงหนุนส่วนหนึ่งจากการย้ายถิ่นที่เพิ่มขึ้นซึ่งช่วยเพิ่มอุปทานแรงงาน อย่างไรก็ตาม อุปทานที่เพิ่มขึ้น ได้แซงหน้าการเติบโตของการจ้างงาน ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก 3.6% ในเดือนกันยายนเป็น 3.9% ในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ การเติบโตของชั่วโมงการทำงานยังได้ชะลอตัวลง ขณะที่อัตราการจ้างงานต่ำกว่าระดับยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 6.5%

ทั้งนี้ ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากการจ้างงานที่สูงและการเติบโตของค่าจ้างที่มั่นคงที่ได้ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดที่บ่งชี้ถึงการลดลงของอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤศจิกายน ได้นำไปสู่ความคาดหวังว่า RBA จะคงอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันไว้ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่า RBA จะคาดการณ์ว่าตลาดแรงงานจะเย็นตัวลง แต่ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลาง

ทางด้านภาวะธุรกิจในออสเตรเลียอ่อนตัวลงในเดือนธันวาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตและการก่อสร้าง ในขณะที่แรงกดดันด้านราคาผ่อนคลายลง ซึ่งส่งสัญญาณว่าอาจบรรเทาลงจากอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่การเติบโตของราคาขายปลีกลดลงเหลือ 0.6% ต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2020 จาก 1.8% ในเดือนก่อนหน้า

แม้ว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจในออสเตรเลียจะพบสัญญาณที่ดีขึ้น แต่พบการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงเล็กน้อย ซึ่งบ่งชี้ถึงศักยภาพในการใช้ทรัพยากรของบริษัทต่างๆ ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังคงไม่แน่นอน โดยตลาดคาดว่าจะพบการผ่อนคลายนโยบายโดยรวมลงเล็กน้อยที่ 34 จุดในปีนี้

ทางด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคในออสเตรเลียลดลงในช่วงต้นเดือนมกราคม เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการออมในครัวเรือนที่ลดลง โดยแม้จะมีความเชื่อมั่นที่อ่อนแอ แต่การใช้จ่ายค้าปลีกซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล Black Friday ในเดือนพฤศจิกายน

ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน ขณะที่จากการสำรวจโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ธุรกิจแห่งชาติ (NAS) นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยในปีหน้า โดยเป็นผลมาจากการมองในแง่ดีจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ตลาดแรงงานที่เย็นลง และข้อมูลเศรษฐกิจที่เป็นบวก โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจท่ามกลางสภาพธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้ แม้จะมีแนวโน้มเชิงบวก แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็ระบุถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ความไม่มั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ และต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ต้นทุนที่ลดลง และความพร้อมด้านแรงงานที่ดีขึ้น ถือเป็นปัจจัยเสริมสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจ การสำรวจยังบ่งชี้ถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดีในวงกว้าง โดยคาดว่ายอดขายและอัตรากำไรของบริษัทจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและการขาดแคลนแรงงานกำลังผ่อนคลายลง จึงอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจยังคงแนวโน้มแข็งค่ากว่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาจพบการปรับตัวแข็งค่าของเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้บ้างเล็กน้อย ตามทิศทางมตินโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6604, 0.6611, 0.6624

แนวรับสำคัญ : 0.65780.65710.6558               

5H Outlook

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: Investing.com                                                                  

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6560.6578 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6578 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6612 และ SL ที่ประมาณ 0.6563 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6604 - 0.6614 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6630 และ SL ที่ประมาณ 0.6573 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6604 - 0.6614 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6604 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6578 และ SL ที่ประมาณ 0.6619 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6560.6578 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6550 และ SL ที่ประมาณ 0.6609 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jan 23, 2024 02:38PM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 0.6546 0.6558 0.6579 0.6591 0.6612 0.6624 0.6645
Fibonacci 0.6558 0.6571 0.6578 0.6591 0.6604 0.6611 0.6624
Camarilla 0.6591 0.6594 0.6597 0.6591 0.6604 0.6607 0.661
Woodie's 0.655 0.656 0.6583 0.6593 0.6616 0.6626 0.6649
DeMark's - - 0.6585 0.6594 0.6618 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES