บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 7 ธันวาคม 2566

Create at 4 months ago (Dec 07, 2023 16:03)

BOJ คงท่าทีผ่อนคลายดอลลาร์ทรงตัวท่ามกลางการคาดการณ์การลดอัตราดอกเบี้ย

สกุลเงินเอเชียปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพุธ โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง กระตุ้นให้เกิดความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ และช่วยชดเชยความกังวลเกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจของจีนล่าสุด

ทางด้านคู่สกุลเงิน USD/JPY ยังคงความยืดหยุ่น โดยทรงตัวเหนือระดับต่ำสุดในรอบสามเดือนในช่วงเซสชั่นเอเชีย ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น นายเรียวโซ ฮิมิโนะ ยังคงท่าทีนโยบายแบบผ่อนคลาย โดยเน้นย้ำถึงการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายเสถียรภาพด้านราคาของญี่ปุ่น

ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของโตเกียวอ่อนตัวลงมากกว่าคาด สอดคล้องกับมุมมองของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นที่คาดว่าแรงกดดันด้านต้นทุนในระบบเศรษฐกิจจะค่อยๆ คลี่คลายลง ในขณะที่ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 โดยได้แรงหนุนจากค่าธรรมเนียมโรงแรมที่พุ่งสูงขึ้น

ทางด้านดัชนีราคาพื้นฐาน ที่ไม่รวมราคาอาหารสดและราคาน้ำมัน เพิ่มขึ้น 3.6% ในเดือนพฤศจิกายน ชะลอตัวจากเดือนก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงเกินเป้าหมาย 2% ของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นมานานกว่าหนึ่งปี ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปีหน้า

ในขณะเดียวกัน การใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นลดลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นยอดค้าปลีกในเดือนตุลาคมที่ต่ำกว่าการคาดการณ์เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ค่าจ้างที่ซบเซา และเงินเยนที่อ่อนค่า โดยจากการสำรวจของรอยเตอร์ที่กำลังจะมีขึ้น ชี้ให้เห็นถึงตัวเลขปรับปรุงการลงทุนภาคเอกชนที่สูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ข้อมูล GDP ที่ปรับปรุงแล้วสำหรับเดือนกรกฎาคม-กันยายน คาดว่าจะหดตัวที่ 2.0% โดยแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุนของเอกชนจะเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ยังมีแนวโน้มความไม่แน่นอนภายในประเทศและระดับโลก ท่ามกลางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่กำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะจากประเทศจีน ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อผู้ผลิต

อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตในญี่ปุ่นยังคงแสดงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยภาคยานยนต์ฟื้นตัวจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ในปีที่แล้ว ขณะที่กิจกรรมการบริการแม้จะขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบปี แต่ยังคงแนวโน้มเชิงบวก โดยภาคธุรกิจบริการยังคงเป็นจุดแข็งสำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ที่ช่วยชดเชยความท้าทายในภาคการผลิต

ทางด้านนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการ BOJ เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรักษานโยบายที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ จนกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ผลักดันจากต้นทุนจะเปลี่ยนไปสู่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ ที่ได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของการเติบโตทั่วโลกและการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนแอ ก็ได้ส่งผลให้โอกาสในการออกจากมาตรการผ่อนคลายของ BOJ ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะหลังจากที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นพบการหดตัวในเดือนกรกฎาคม-กันยายนที่ผ่านมา

ในภาพรวมทั่วโลก ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ยังคงพบสัญญาณและแนวโน้มของการอ่อนค่าของค่าเงินจากความคาดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงต้นปี 2024 ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลงและความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ Fed ที่ได้กระตุ้นให้เกิดความคาดหวังในการยุติวงจรการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ การเติบโตของค่าจ้างภาคเอกชนของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนพบว่าต่ำกว่าคาด ส่งสัญญาณถึงตลาดแรงงานที่กำลังเย็นตัวลง ขณะที่ตำแหน่งงานว่างลดลงในเดือนตุลาคม สนับสนุนความคาดหวังเกี่ยวกับการชะลอตัวของตลาดแรงงานและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยตลาดจะจับตาดูข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพื่อความชัดเจนมากขึ้น

อย่างไรก็ดี แม้ตลาดจะคาดหวังถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างน้อย 125 จุดในปีที่จะถึงนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังคงทรงตัวเนื่องจากความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศอื่นๆ โดยเครื่องมือ CME FedWatch ระบุถึงความน่าจะเป็น 60% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจาก 50% ในสัปดาห์ก่อน

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (15 Min) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 145.33, 145.39, 145.50

แนวรับสำคัญ : 145.11, 145.05, 144.94                  

15Min Outlook         

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: Investing.com            

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 144.91 – 145.11 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 145.11 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.33 และ SL ที่ประมาณ 144.81 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 145.33 – 145.53 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.80 และ SL ที่ประมาณ 145.01 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 145.33 – 145.53 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 145.33 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.04 และ SL ที่ประมาณ 145.63 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 144.91 – 145.11 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.76 และ SL ที่ประมาณ 145.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Dec 07, 2023 03:48PM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 144.76 144.94 145.04 145.22 145.32 145.50 145.60
Fibonacci 144.94 145.05 145.11 145.22 145.33 145.39 145.50
Camarilla 145.08 145.10 145.13 145.22 145.18 145.21 145.23
Woodie's 144.74 144.93 145.02 145.21 145.30 145.49 145.58
DeMark's - - 144.99 145.19 145.27 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES