บทวิเคราะห์ EUR/USD วันที่ 6 ธันวาคม 2566

Create at 4 months ago (Dec 06, 2023 10:54)

เงินยูโรเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลทางการคลังในยูโรโซน

เงินยูโรล่าสุดร่วงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ขยับลงต่ำกว่า 1.0800 โดยได้รับแรงกดดันจากอารมณ์ของตลาดที่เลี่ยงความเสี่ยง (Risk-averse) หลังจาก Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของจีนลง ส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์

ทั้งนี้ แม้ว่าจะพบดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจเชิงบวกในยูโรโซน อย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่เพิ่มขึ้นเป็น 47.6 บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ความกังวลของตลาดในวงกว้างยังคงบดบังสัญญาณเชิงบวก ท่ามกลางกิจกรรมทางธุรกิจของยูโรโซนที่ส่งสัญญาณผ่อนคลาย ขณะที่ธุรกิจภาคบริการยังคงดิ้นรน สะท้อนถึงการหดตัวของเศรษฐกิจโดยรวม

ทางด้านอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนยังคงสร้างความกังวล แม้จะลดลงในอัตราที่ชะลอตัว โดยโจอาคิม นาเจล ประธาน Bundesbank กล่าวถึงแนวโน้มเงินเฟ้อที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่น ผลกระทบของดัชนีราคาพื้นฐานที่อ่อนตัวลง การยุติมาตรการตรึงราคาพลังงาน และการคาดการณ์การเติบโตของค่าจ้างที่แข็งแกร่ง

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลในสหภาพยุโรปเผชิญกับความท้าทายในการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางการคลังใหม่ โดยข้อตกลงว่าด้วยเสถียรภาพและความเติบโต (Stability and Growth Pact) ซึ่งจำกัดการขาดดุลงบประมาณและหนี้สินของบรรดาประเทศสมาชิกในสหภาพได้ถูกระงับใช้ตั้งแต่ปี 2563 และมีกำหนดบังคับใช้อีกครั้งในปี 2567 ท่ามกลางข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการลดระดับหนี้ โดยเยอรมนีสนับสนุนให้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานประจำปี

ทางด้านเศรษฐกิจของเยอรมนีเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้น หลังจากพบช่องว่างในคลังถึง 6 หมื่นล้านยูโรจากคำตัดสินของศาลเมื่อเร็วๆ นี้ ในขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง คริสเตียน ลินด์เนอร์เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการระงับระดับหนี้สิน และเผยให้เห็นถึงการขาดดุล 17,000 ล้านยูโรในงบประมาณปี 2567 รวมถึงตัดประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มการจัดเก็บภาษี โดยแม้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะดีขึ้นอย่างไม่คาดคิดในเดือนพฤศจิกายน แต่ Deutsche Bank ก็ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ GDP ลงมาที่ -0.2% ขณะที่ IMF คาดการณ์ว่า GDP จะหดตัวถึง 0.5% ในปี 2566 โดยอ้างถึงผลกระทบของวิกฤตพลังงานและอัตราเงินเฟ้อที่เกี่ยวข้องกับสงครามในยูเครน รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการย้ายที่ตั้งธุรกิจจากเยอรมนีเนื่องจากภาษีและต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น

อีกด้าน ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ โดยได้แรงหนุนจากดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจเชิงบวก โดยตำแหน่งงานว่างของ JOLTS พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บ่งชี้ถึงตลาดงานที่เย็นตัวลง ในขณะที่ PMI ภาคบริการจาก ISM ส่งสัญญาในแง่บวกมากขึ้น และบ่งบอกถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในภาคบริการ

ทั้งนี้ แม้ว่าตำแหน่งงานว่างจะลดลง แต่ความยืดหยุ่นในตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงกระตุ้นให้เกิดความคาดหวังถึงการภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจหลีกเลี่ยงได้ ขณะที่นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อมุ่งเป้าไปที่การควบคุมอัตราเงินเฟ้ออาจมีความเป็นไปได้ที่จะยังคงเข้มงวดเป็นระยะเวลาที่นานมากขึ้น

ในสัปดาห์นี้ ตลาดจะยังคงรอคอยรายงานเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงข้อมูลการจ้างงานของ ADP และต้นทุนแรงงานต่อหน่วยในไตรมาสที่ ของสหรัฐฯ ยอดค้าปลีกในยูโรโซน และการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ โดยยอดค้าปลีกในยูโรโซนถูกคาดการณ์ว่าจะปรับตัวดีขึ้น ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับตัวเลข GDP ของยูโรโซนและความไม่แน่นอนในภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก จึงมีความเป็นไปที่จะส่งผลให้เงินยูโรจะยังคงถูกกดดันหรือปรับตัวขึ้นลงในกรอบล่างอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ไปจนถึงต้นปีหน้า

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD EUR/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.0799, 1.0802, 1.0807

แนวรับสำคัญ : 1.0789, 1.0786, 1.0781          

5H Outlook         

วิเคราะห์ EUR/USD ที่มา: Investing.com                                                            

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0779 - 1.0789 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0789 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0800 และ SL ที่ประมาณ 1.0774 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0799 - 1.0809 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0815 และ SL ที่ประมาณ 1.0784 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0799 - 1.0809 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0799 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0787 และ SL ที่ประมาณ 1.0814 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0779 - 1.0789 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0772 และ SL ที่ประมาณ 1.0804 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Dec 06, 2023 10:37AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 1.0774 1.0781 1.0787 1.0794 1.0800 1.0807 1.0813
Fibonacci 1.0781 1.0786 1.0789 1.0794 1.0799 1.0802 1.0807
Camarilla 1.0789 1.0791 1.0792 1.0794 1.0794 1.0795 1.0797
Woodie's 1.0774 1.0781 1.0787 1.0794 1.0800 1.0807 1.0813
DeMark's - - 1.0784 1.0793 1.0797 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES