บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 1 ธันวาคม 2566

Create at 5 months ago (Dec 01, 2023 10:33)

ออสเตรเลียเผชิญความท้าทายด้านเงินเฟ้อ สหรัฐฯ เผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

ในเดือนตุลาคม ออสเตรเลียประสบกับอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าที่คาด โดยได้รับอิทธิพลจากราคาสินค้าที่ลดลง โดยเฉพาะน้ำมัน ค่าเช่า และการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) รายเดือนเพิ่มขึ้นที่อัตรา 4.9% ต่อปี ชะลอตัวจาก 5.6% ในเดือนกันยายน และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.2% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงเหลือ 5.3% และอาจส่งผลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางในการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เตือนว่าข้อมูลเงินเฟ้อรายเดือนอาจยังไม่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาบริการได้ทั้งหมด

ทางด้านภาคธุรกิจการค้าปลีกในออสเตรเลียเผชิญกับความท้าทายที่ไม่คาดคิดในเดือนตุลาคม โดยยอดขายที่ไม่รวมอาหาร ลดลง 0.2% ซึ่งเทศกาล Black Friday ในเดือนพฤศจิกายนอาจส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ผ่านมา และส่งผลต่อการใช้จ่ายที่ลดลงในเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายด้านการค้าปลีกโดยรวมยังคงใกล้เคียงกับระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่บันทึกไว้ในเดือนพฤศจิกายน 2022 เนื่องมาจากเทศกาล Black Friday ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ที่เพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 4.35% ได้อ้างถึงอัตราเงินเฟ้อด้านบริการที่ยังคงหนืดอย่างต่อเนื่อง แม้จะพบการใช้จ่ายค้าปลีกที่ลดลงเล็กน้อยและตลาดแรงงานที่เย็นตัวลง โดย RBA ยังคงแสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงและความจำเป็นในการใช้นโยบายเข้มงวดเพิ่มเติมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประจำปีที่ 2-3% ซึ่งถึงแม้ว่าตัวเลข CPI ในเดือนตุลาคมจะลดลงจากจุดสูงสุดของช่วงต้นปี 2023 แต่ก็คงยังเกินเป้าหมายของ RBA และอาจนำไปสู่การคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

ทางด้านตลาดที่อยู่อาศัยของออสเตรเลียแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และสร้างคำถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของนโยบายการเงินที่ผ่านมา ขณะที่มิเชล บูลล็อก ผู้ว่าการ RBA เน้นย้ำถึงผลกระทบของอุปสงค์ในประเทศต่ออัตราเงินเฟ้อ กระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญอย่างมากของการตอบสนองทางเศรษฐกิจจากอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลีย แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการอ่านค่า CPI ในตอนแรก แต่ก็ยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบสี่เดือน

อีกด้าน สหรัฐฯ ประสบปัญหาการชะลอตัวของตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ในการยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

การใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ มีสัญญาณการชะลอตัวในเดือนตุลาคม โดยพบอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อปีน้อยที่สุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง ท่ามกลางค่าจ้างและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น รวมถึงการออมที่ลดลงในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ซึ่งความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในต้นปี 2567 อาจส่งผลให้ภาคครัวเรือนให้ความสำคัญกับการออมมากกว่าการใช้จ่ายได้

ทางด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ดีดตัวขึ้นในเดือนพฤศจิกายน โดยได้แรงหนุนจากความคาดหวังเชิงบวกสำหรับการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ เช่น ยานยนต์และบ้าน อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้บริโภคถึงสองในสามยังคงแสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้น ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่าแม้จะมีแนวโน้มยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ยังคงเปิดกว้างในการใช้ความเข้มงวดขึ้นอีก หากการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อหยุดชะงัก

ในขณะเดียวกัน การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในช่วง 12 เดือนของผู้บริโภคลดลงจาก 5.9% มาอยู่ที่ 5.7% ในเดือนตุลาคม ซึ่งคาดว่าสะท้อนถึงความกังวลที่ลดลงเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อตามรายงานการชะลอตัว ซึ่งแตกต่างจากผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อระยะยาวในช่วงเดือนพฤศจิกายนสู่ระดับเดียวกันกับอัตราคาดการณ์ในปี 2554

นอกจากนี้ จากข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงตลาดแรงงานที่ค่อยๆ ผ่อนคลาย โดยพบชาวอเมริกันที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ว่างงานพุ่งสูงสุดในรอบ 2 ปีในกลางเดือนพฤศจิกายน ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.9% สูงกว่าระดับที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนมีนาคม 2565 เล็กน้อย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่สาม แต่การคาดการณ์สำหรับไตรมาสที่สี่บ่งชี้ถึงการเติบโตที่ชะลอตัวลง ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกของตลาดที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับบทสรุปของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยจากข้อมูลของ CME FedWatch Tool ฟิวเจอร์สอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ แสดงความน่าจะเป็นที่ 47% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม 2567 และเพิ่มขึ้นถึง 78% ในเดือนเมษายน ซึ่งโดยรวมแล้ว ตลาดคาดว่าจะพบการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ย 100 จุดพื้นฐานภายในสิ้นปี 2567 ตามข้อมูลของ LSEG จึงอาจส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าและปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยยังคงแนวโน้มอ่อนค่ากว่าดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะกลาง เนื่องจากผลตอบแทนของทั้งสองเศรษฐกิจที่ยังคงต่างกัน

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6629, 0.6636, 0.6646

แนวรับสำคัญ : 0.66070.66000.6590                                

5H Outlook  

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: Investing.com                                          

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6597 - 0.6607 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6607 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6636 และ SL ที่ประมาณ 0.6592 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6629 - 0.6639 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6660 และ SL ที่ประมาณ 0.6602 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6629 - 0.6639 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6629 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6607 และ SL ที่ประมาณ 0.6644 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6597 - 0.6607 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6583 และ SL ที่ประมาณ 0.6634 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Dec 01, 2023 10:21AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 0.6579 0.6590 0.6607 0.6618 0.6636 0.6646 0.6664
Fibonacci 0.6590 0.6600 0.6607 0.6618 0.6629 0.6636 0.6646
Camarilla 0.6619 0.6621 0.6624 0.6618 0.6629 0.6632 0.6634
Woodie's 0.6583 0.6592 0.6611 0.6620 0.6640 0.6648 0.6668
DeMark's - - 0.6613 0.6621 0.6642 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES