บทวิเคราะห์ USD/JPY 28 พฤศจิกายน 2566

Create at 5 months ago (Nov 28, 2023 19:06)

ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหาด้านการผลิตที่ลดลง

เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนที่จะกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันนี้ โดยปัจจัยหลักมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากสัญญาณของการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ รวมถึงนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้สิ้นสุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วและอาจเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ทางด้านอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางความอ่อนแออย่างต่อเนื่องในภาคการผลิต

 

อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 3.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนตุลาคม จาก 3.0% ในเดือนก่อนหน้า เงินเฟ้อในตอนนี้ยังอยู่นอกเป้าหมาย 2% ของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยราคาสินค้าส่วนใหญ่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เช่นเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือน เพิ่มขึ้น 6.9% ในขณะเดียวกัน ราคาเชื้อเพลิงลดลง 10.0% อีกทั้ง ค่าไฟฟ้ายังลดลงถึง 16.8% ซึ่งส่งผลดีต่อหลายบริษัททำให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ง่ายขึ้น

 

เงินเฟ้อในราคาอาหารในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 8.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมในปี 1976 โดยราคาเนื้อสัตว์ยังคงเพิ่มขึ้น 4.7% ราคาผลิตภัณฑ์นมและไข่เพิ่มขึ้นสูงถึง 19.2% นอกจากนี้ราคาสินค้าประเภทผักสด, ผลไม้สดและธัญพืชมีการเพิ่มขึ้นสูงถึง 14.3%

 

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในญี่ปุ่น ซึ่งใช้ในการวัดแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนการรับสมัครพนักงานและความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับลดลงเป็น 108.9 ซึ่งเกิดจากกิจกรรมในโรงงานที่หดตัวอย่างรวดเร็วในเดือนกันยายนและยังส่งผลให้ผลผลิตหดตัวมากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในด้านการเติบโตของรายได้และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

 

PMI ภาคการผลิตลดลงเหลือ 48.1 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 48.8 แสดงถึงการหดตัวของกิจกรรมโรงงานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิตที่สามารถผลิตได้ปรับลดลง นอกจากนี้ ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นทำให้การจ้างงานลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นสูงกว่า 0.75% อีกครั้ง หลังปรับตัวลดลงจากราคาพันฐบัตรทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น จากข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงอยู่ในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจในประเทศ นอกจากนี้ BOJ ได้ทำการปรับนโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนเพิ่มเติม โดยปรับไปที่ 1% อีกทั้ง BOJ ยังปรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นสำหรับปีงบประมาณ 2023, 2024 และ 2025 และจะค่อยๆปรับลดลงจนเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 148.98, 149.27, 149.70

แนวรับสำคัญ: 148.26, 147.83, 147.54

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันนี้ที่มา: Investing.com

จุดกลับตัว 28 พฤศจิกายน 2566 19:02 น. GMT+7

ชื่อ S3 S2 S1 จุดกลับตัว R1 R2 R3
Classic 147.54 147.83 148.26 148.55 148.98 149.27 149.70
Fibonacci 147.83 148.11 148.27 148.55 148.83 148.99 149.27
Camarilla 148.50 148.56 148.63 148.55 148.76 148.83 148.89
Woodie's 147.62 147.87 148.34 148.59 149.06 149.31 149.78
DeMark's - - 148.41 148.62 149.13 - -
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 147.83 - 148.26 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 148.26 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.27 และ SL ที่ประมาณ 147.54 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 148.98 - 149.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.70 และ SL ที่ประมาณ 147.83 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 148.98 - 149.27 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 148.98 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.83 และ SL ที่ประมาณ 149.70 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 147.83 - 148.26 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.54 และ SL ที่ประมาณ 149.27 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

ตัวชี้วัดทางเทคนิค 28 พฤศจิกายน 2566 19:02 น. GMT+7

ชื่อ มูลค่า Action
RSI(14) 39.954 ขาย
STOCH(9,6) 37.579 ขาย
STOCHRSI(14) 29.201 ขาย
MACD(12,26) -0.270 ขาย
ADX(14) 40.763 ขาย
Williams %R -74.856 ขาย
CCI(14) -112.3643 ขาย
ATR(14) 0.3936 ผันผวนน้อยลง
Highs/Lows(14) -0.4750 ขาย
Ultimate Oscillator 44.279 ขาย
ROC -0.815 ขาย
Bull/Bear Power(13) -0.5510 ขาย

ซื้อ:0

ขาย:11

ถือหุ้นไว้:0

สรุป:ขายทันที

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES