บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 31 กรกฎาคม 2566

บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 31 กรกฎาคม 2566
Create at 9 months ago (Jul 31, 2023 09:38)

เงินเฟ้อออสเตรเลียชะลอตัว ลดแรงกดดัน RBA ขึ้นอัตราดอกเบี้ย

อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ในไตรมาสที่สอง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของรายจ่ายในวันหยุดและค่าเชื้อเพลิง ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

ทั้งนี้ ข้อมูลที่เปิดเผยโดยสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียแสดงให้เห็นว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 0.8% ในไตรมาสที่สอง ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 1.0% และเป็นการปรับขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปี 2021 โดยการชะลอตัวนี้เกิดขึ้นหลังจากอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกที่อยู่ที่ 1.4%

อย่างไรก็ดี แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อโดยรวมจะค่อย ๆ ลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อภาคบริการยังคงสร้างความกังวล หลังจากที่เร่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 22 ปีที่ 6.3% ในไตรมาสที่สอง โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเช่าที่อยู่อาศัย ราคาอาหารในร้านอาหาร และค่าใช้จ่ายในการดูแลบุตรที่สูงขึ้น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรายไตรมาสนับตั้งแต่ปี 2531 เนื่องจากอัตราว่างที่ต่ำท่ามกลางความต้องการที่อยู่อาศัยที่แข็งแกร่ง

ในทางกลับกัน อัตราเงินเฟ้อของสินค้าพบว่ามีการลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีอัตราต่อปีอยู่ที่ 5.8% ลดลงจาก 7.6% ในไตรมาสก่อนหน้า โดย RBA คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้ออาจกลับไปสู่จุดสูงสุดของกรอบเป้าหมายได้ภายในกลางปี 2568 และคาดว่าจะอัปเดตการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้

ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่ตลาดแรงงานของออสเตรเลียยังคงแข็งแกร่งอยู่มาก โดยพบว่ามีอัตราการว่างงานใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี ซึ่งตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งนี้อาจผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เนื่องจากภาคธุรกิจยังคงเผชิญกับความท้าทายในการหาแรงงานที่มีทักษะ โดยข้อมูลเดือนมิถุนายนบ่งชี้ว่าการจ้างงานเติบโตเกินคาด ซึ่งบ่งบอกถึงแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่

ทางด้านดัชนีบ่งชี้ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ อย่างยอดค้าปลีกของออสเตรเลีย ลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนมิถุนายน แสดงให้เห็นสัญญาณถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อาจเริ่มสูญเสียโมเมนตัม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยการลดลงนี้เห็นได้ชัดที่สุดตามห้างสรรพสินค้าและในบริษัทผู้ค้าปลีกเครื่องแต่งกายซึ่งมียอดขายลดลงมากที่สุด

ด้วยเหตุนี้ อัตราเงินเฟ้อในระดับปานกลางและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งจึงอาจส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในอนาคตของ RBA โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จากผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า RBA จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 จุดในวันอังคาร และจากนั้นอาจพักชั่วคราวในช่วงที่เหลือของปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของธนาคาร โดยตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งและการฟื้นตัวของราคาบ้านในออสเตรเลียถูกมองว่าเป็นปัจจัยที่หนุนสำคัญ ท่ามกลางธนาคารกลางทั่วโลกส่วนใหญ่ที่กำลังเข้าใกล้จุดสิ้นสุดวงจรการใช้นโยบายแบบเข้มงวด และรวมถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งผลให้นักวิเคราะห์คาดว่า RBA อาจใกล้ยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้เช่นกัน

ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตามที่คาดการณ์ไว้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ได้อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่มองข้ามข้อมูลล่าสุดที่แสดงถึงการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อประจำปีของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบกว่า ปี ส่งผลให้แรงกดดันด้านราคาลดลงมาอยู่ในระดับปานกลาง โดยหากแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไป อาจกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ พิจารณายุติวงจรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ RBA อาจดำเนินการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในอนาคตอันใกล้นี้ มีการคาดการณ์ว่ารองผู้ว่าการฯ Michele Bullock จะเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการ RBA ในเดือนกันยายน จึงส่งผลให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงมีความไม่แน่นอน เนื่องจากนักวิเคราะห์และนักลงทุนยังคงติดตามแนวโน้มเงินเฟ้อและการตัดสินใจของธนาคารกลางอย่างใกล้ชิดในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียในช่วงนี้คาดว่าอาจมีการปรับขึ้นลงได้ตามกรอบ ในขณะที่แนวโน้มระยะกลางคาดว่าจะยังคงอ่อนค่ากว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ เนื่องผลตอบแทนที่ต่างกันมาก

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6662, 0.6665, 0.6671

แนวรับสำคัญ : 0.66500.66470.6641               

5H Outlook

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: Investing.com               

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6640.6650 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6650 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6663 และ SL ที่ประมาณ 0.6635 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6662 - 0.6672 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6677 และ SL ที่ประมาณ 0.6645 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6662 - 0.6672 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6662 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6648 และ SL ที่ประมาณ 0.6677 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6640.6650 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6634 และ SL ที่ประมาณ 0.6667 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jul 31, 2023 09:23AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 0.6634 0.6641 0.6648 0.6656 0.6663 0.6671 0.6677
Fibonacci 0.6641 0.6647 0.6650 0.6656 0.6662 0.6665 0.6671
Camarilla 0.6653 0.6654 0.6655 0.6656 0.6658 0.6659 0.6660
Woodie's 0.6634 0.6641 0.6648 0.6656 0.6663 0.6671 0.6677
DeMark's - - 0.6645 0.6654 0.6660 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES