ทองทะยาน ดอลลาร์ร่วง รับตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอตัว

ทองทะยาน ดอลลาร์ร่วง รับตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอตัว
Create at 1 year ago (Nov 07, 2022 12:10)

วันศุกร์ (4 พฤศจิกายน 65) ที่ผ่านมา ทองคำปิดพุ่งแตะ High ในรอบ 3 สัปดาห์ ที่ $1,681.91 เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอตัว ประกอบกับเฟดส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย ส่วนเงินหยวนจีนแข็งค่า จากการผ่อนคลายนโยบาย Covid-Zero ส่งผลให้กดดันดอลลาร์ อ่อนค่าลงกว่า -2% ด้านกองทุน SPDR ถือทองลดลง -4.63 ตัน

 

ทองทะยาน ดอลลาร์ร่วง รับตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอตัว

 

โดย “ปัจจัยหนุนทองคำ” มาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1. กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.7% จากระดับ 3.5% ในเดือนกันยายน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด ส่วนค่าจ้างเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง บ่งชี้การชะลอตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งอาจทำให้เฟดปรับลดการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม

2. ดัชนีดอลลาร์ร่วงลง 1.9% แตะระดับ 110.788 โดยเป็นการร่วงลงในวันเดียว มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 58 ขานรับรายงานการจ้างงานที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น

3. นางควินซี ครอสบี นักวิเคราะห์จาก LPL Financial กล่าวว่า รายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่มีการเปิดเผย ได้สนับสนุนมุมมองที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.50% ในการประชุมเดือนธันวาคม

4. ประธานเฟดสาขาชิคาโก กล่าวในวันศุกร์ว่า ถึงเวลาแล้วที่เฟดจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ลดลง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเกินความจำเป็น ส่วนประธานเฟดบอสตัน ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า เธอสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดเงินเฟ้อ แต่มันก็เป็นโอกาสดี หากการเพิ่มดอกเบี้ยในอนาคตจะน้อยกว่าที่เคยดำเนินมา

5. FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักราว 62% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 50 bps ในการประชุมวันที่ 13-14 ธันวาคม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 51.5% ก่อนการเปิดเผยตัวเลขจ้างงาน

 

ทองทะยาน ดอลลาร์ร่วง รับตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอตัว

 

6. นายหาว ฮง นักเศรษฐศาสตร์ของจีน ทวีตข้อความระบุว่า ทางการจีนกำลังจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเปิดประเทศ และกำลังทบทวนข้อมูลด้านโควิด-19 ในต่างประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์ โดยมีเป้าหมายที่จะผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิด-19 ในเดือนมีนาคม 66

ด้าน Bloomberg รายงานว่า จีนเตรียมยกเลิกระบบ Circuit Breaker ที่จะระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศที่มีการตรวจพบผู้โดยสารติดเชื้อโควิด-19 เข้าสู่จีน

7. กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล (MSDF) ของญี่ปุ่น จัดพิธีสวนสนามทางเรือ โดยมีกองทัพเรือเกาหลีใต้เข้าร่วมพิธี ซึ่งเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ

8. กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น เปิดเผยว่า สหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้ดำเนินการซ้อมรบร่วมทางอากาศเมื่อวันเสาร์ (5 พฤศจิกายน 65) ที่ผ่านมา ด้วยการใช้เครื่องบินขับไล่เหนือน่านฟ้าทะเลจีนตะวันออก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะคิวชู

9. กองทัพเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้ 4 ลูก ลงสู่ทะเลตะวันตกในช่วงเช้าของวันที่ 5 พฤศจิกายน 65 โดยมีระยะทางยิงไกลราว 130 กิโลเมตร ที่ระดับความสูงประมาณ 20 กิโลเมตร

 

ทองทะยาน ดอลลาร์ร่วง รับตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอตัว

 

อย่างไรก็ดี ในตลาดก็ยังคงมี “ปัจจัยกดดันทองคำ” อยู่ด้วยเช่นกัน โดยประกอบด้วยสถานการณ์ดังนี้

1. กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ แต่ก็ชะลอตัวจากเดือนกันยายน ส่วนตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ดีดตัวขึ้น 0.4% เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

2. ดัชนี Dow Jones ปิดเพิ่มขึ้น 401.97 จุด หรือ +1.26%, ดัชนี S&P500 ปิด +1.36% และดัชนี Nasdaq ปิด +1.28% เนื่องจากรายงานการจ้างงานที่บ่งชี้ว่า อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ซึ่งแสดงถึงสัญญาณการชะลอตัวในตลาดแรงงาน รวมทั้งกระแสข่าวเกี่ยวกับการเปิดประเทศของจีน

3. นายหู เซียง เจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (NHC) เปิดเผยในวันที่ 5 พฤศจิกายน 65 ว่า จีนจะยังคงยึดมั่นอย่างแน่วแน่ต่อการควบคุมโรคโควิด-19

 

จากปัจจัยข้างต้น ตลาดค่อนข้างคาดหวังว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนหน้า เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอตัวลง แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขายังคงต้องจับตาการประชุมที่จะเกิดขึ้นช่วงกลางเดือนหน้า รวมถึงสถานการณ์ควบคุมโรคระบาดของจีน และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ค่อนข้างน่าเป็นกังวลด้วยเช่นกัน

 

ที่มา: CNBCCNNSPDRKitcoInvesting, ReutersBloombergFxstreet 
อ่านเพิ่มเติม: News, GoldDollar

 

____________________________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES