บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566
Create at 1 year ago (Feb 24, 2023 13:58)

BoJ เดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อ

จากข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นหรือ CPI ในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ แตะระดับสูงสุดในรอบ 41 ปี ท่ามกลางต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น จากการที่บริษัทต่างๆ ส่งต่อต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับภาคครัวเรือน สร้างแรงกดดันมากขึ้นต่อธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) ที่อาจเพิ่มความเข้มงวดด้านนโยบายการเงินในช่วงเปลี่ยนผ่านวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการธนาคารคนใหม่

ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักของประเทศ หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมสินค้าที่ผันผวน เช่น อาหารสดและเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 4.2% ในเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับ 4% ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่รวมสินค้าผันผวน เพิ่มขึ้น 4.3% ในเดือนมกราคมจาก 4% ในเดือนก่อนหน้า

โดยจากข้อมูลครั้งนี้ นับเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นได้แตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาแพงขึ้น โดยต้นทุนเชื้อเพลิงและค่าสาธารณูปโภคที่สูงขึ้นถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนที่ใหญ่ที่สุดของอัตราเงินเฟ้อในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกหยุดชะงัก กอปรกับการพึ่งพาการนำเข้าอาหารและเชื้อเพลิงจากต่างประเทศของญี่ปุ่นเป็นปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในประเทศครั้งนี้

ล่าสุด อัตราเงินเฟ้อเชื้อเพลิงและสาธารณูปโภคพุ่งขึ้น 14% ราคาก๊าซพุ่งขึ้น 24.3% ในขณะที่ราคาอาหารพุ่งขึ้นกว่า 7% โดยอาหารสดเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ราคาสูงขึ้นในเดือนมกราคม  

แม้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้วได้ แต่เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ยังไม่สามารถดีดตัวกลับขึ้นมาได้อย่างที่คาดหวังไว้ เนื่องจากการลงทุนในภาคธุรกิจที่ลดลง ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนก็กำลังเผชิญกับกระแสค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัวที่ล่าช้าของญี่ปุ่นมากขึ้น

นอกจากนี้ จากผลการสำรวจองค์กรรายเดือนของรอยเตอร์ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนิกเคอิรีเสิร์ชระหว่างวันที่ 8-17 ก.พ. ซึ่งได้ทำการสำรวจบริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินของญี่ปุ่น 493 แห่ง บริษัทญี่ปุ่นเกือบครึ่งหนึ่ง ให้ความเห็นว่า BoJ ควรแก้ไขนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ในขณะที่มากกว่าหนึ่งในสี่กล่าวว่า ควรเปลี่ยนกรอบอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ปัจจุบันอยู่ที่  2% และมีเพียง 9% เท่านั้นที่กล่าวว่า BoJ ควรยกเลิกนโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ซึ่งปัจจุบันมีความเสี่ยงที่จะถูกนักเก็งกำไรเข้าซื้อขายทำลายเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ได้ ถึงกระนั้น บริษัทส่วนใหญ่กว่า 62% กล่าวว่าการปรับนโยบายการเงินเป็นแบบปกติจะไม่ส่งผลดีหรือผลเสียต่อธุรกิจของตน

อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงจับตามองทิศทางนโยบายการเงินจากผู้ว่าการ BoJ คนใหม่อย่าง คาซูโอะ อูเอดะ ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่านแรงกดดันด้านราคาที่สูงขึ้น โดยล่าสุดได้กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า เป็นการเหมาะสมที่จะคงนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนเป็นพิเศษไว้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ 2% ของธนาคารกลางได้อย่างยั่งยืน

โดยเมื่อเช้าวันศุกร์นี้ อูเอดะให้ความเห็นผ่านการประชุมรัฐสภาถึงดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ส่วนใหญ่ได้รับแรงกดดันจากต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้น มากกว่าอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่ง และเป็นการปฏิบัติตามหลักการ ที่จะต้องรีบออกมาตรการสำหรับอัตราเงินเฟ้อที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ แต่ไม่ใช่กับอัตราเงินเฟ้อที่ขับเคลื่อนด้วยอุปทานในทันที มิฉะนั้นจะเป็นการทำให้เศรษฐกิจแย่ลงได้

ทางด้านคู่สกุลเงินดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในวันพฤหัสบดี และมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึง ณ ตอนนี้ ยังไม่มีข้อมูลหรือตัวแปรสำคัญที่จะสามารถหยุดความร้อนแรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงนี้ลงได้ บ่งชี้ถึงแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯที่อาจมีขึ้นอีก 3 ครั้งอย่างต่อเนื่องในปีนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 134.90, 135.10, 135.41

แนวรับสำคัญ : 134.28, 134.08, 133.77   

5H Outlook

วิเคราะห์ USD/JPY 5Hที่มา: Investing.com                                         

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 134.18 – 134.28 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 134.28 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 135.11 และ SL ที่ประมาณ 134.13 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 134.90 – 135.00 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 135.41 และ SL ที่ประมาณ 134.23 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 134.90 – 135.00 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 134.90 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 134.28 และ SL ที่ประมาณ 135.05 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 134.18 – 134.28 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 133.77 และ SL ที่ประมาณ 134.95 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Feb 24, 2023 01:22PM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 133.46 133.77 134.28 134.59 135.11 135.41 135.93
Fibonacci 133.77 134.08 134.28 134.59 134.90 135.10 135.41
Camarilla 134.56 134.63 134.71 134.59 134.86 134.94 135.01
Woodie's 133.56 133.82 134.38 134.64 135.21 135.46 136.03
DeMark's - - 134.43 134.66 135.25 - -

Sources: Investing 1Investing 2, Investing 3

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

Forex News

ARTICLES