9 ข่าวสำคัญที่ส่งผลต่อตลาด Forex สาย Fundamental ห้ามพลาด!!

9 ข่าวสำคัญที่ส่งผลต่อตลาด Forex สาย Fundamental ห้ามพลาด!!
Create at 3 months ago (Apr 18, 2024 11:17)

9 ข่าวสำคัญที่ส่งผลต่อตลาด Forex สาย Fundamental ห้ามพลาด!!

ข่าว Forex เป็นสิ่งจำเป็นที่เทรดเดอร์ต้องรู้ แม้ว่าเทรดเดอร์อาจจะไม่ได้เทรดตามข่าวก็ตาม แต่มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เทรดเดอร์ตัดสินใจผิดพลาด หากไม่ติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับตลาด Forex หรือเข้าเทรดด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว ตัวเลขข่าวจะส่งผลกระทบ “รุนแรง” ต่อตลาด Forex จนหลายคนเรียกว่าข่าวอันตราย เทรดเดอร์สายเทคนิคมักจะหลีกเลี่ยงช่วงเวลาดังกล่าว หรือทำการปิดออเดอร์ที่ถือไว้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังมีเทรดเดอร์สายข่าว ที่รอเก็งกำไรในช่วงนี้ก็มีเช่นเดียวกัน โดยบทความนี้จะอธิบายถึง 9 ข่าวสำคัญที่ส่งผลต่อตลาด Forex  พร้อมทั้งมุมมองการวิเคราะห์ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ

1. อัตราการจ้างงานสหรัฐฯ (Non-Farm Employment Change: Non-Farm)

Non-Farm ย่อมาจากคำว่า Non-Farm Employment Change ถือเป็นข่าวด้านเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ โดยจะเป็นการรายงานจำนวนประชากรของสหรัฐฯ ที่ทำงานในภาคการผลิต ก่อสร้าง และอุตสาหกรรมสินค้าต่าง ๆ แต่ไม่รวมคนงานในกลุ่มเกษตรกร ลูกจ้างรัฐบาล พนักงานในครัวเรือนส่วนบุคคล และบุคคลที่ทำงานในองค์กรไม่แสวงหากำไร (Non-profit organization) ตัวเลขเหล่านี้สามารถบ่งชี้สภาพทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ว่าดีหรือไม่ เนื่องจากตำแหน่งงานดังกล่าวมีจำนวน 80% ของแรงงานสหรัฐฯ ทั้งหมด

ข่าว Non-Farm จะประกาศออกมาในช่วงกลางคืนวันศุกร์แรกของทุก ๆ เดือน เวลาประมาณ 19.30 น. ของประเทศไทย และเวลา 8.30 น. ตามเวลานิวยอร์ค หรือบางเดือนอาจจะเลื่อนประกาศเป็นเวลา 20.30 น. ได้

เทคนิคการวิเคราะห์ข่าว Non-Farm

หากการประกาศตัวเลขการจ้างงานออกมาสูง
- การจ้างงานที่สูงขึ้น จะสะท้อนถึงภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น

- จะส่งผลให้ USD มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

- คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหน้า เช่น USD/JPY, USD/CHF ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

- คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหลัง เช่น EUR/USD, GBP/USD ราคามีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง

- ในสภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง

หากการประกาศตัวเลขการจ้างงานออกมาต่ำ

- การจ้างงานที่ต่ำลง จะสะท้อนถึงภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แย่ลง

- จะส่งผลให้ USD มีแนวโน้มอ่อนค่าลง

- คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหน้า เช่น USD/JPY, USD/CHF ราคามีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง

- คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหลัง เช่น EUR/USD, GBP/USD ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

- ในสภาวะเศรษฐกิจแย่ลง ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

 

หมายเหตุ: นักลงทุนมืออาชีพส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงการประกาศข่าว Non-Farm เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ และอาจเกิดความเสี่ยงที่ควบคุมได้ยาก เช่น อัตราค่า Spread ที่สูงขึ้น, Slippage, และ Gap ของราคา แต่ในมุมมองที่ต่างกันก็ยังมีนักลงทุนบางกลุ่มที่ตั้งตารอเทรดข่าวนี้ เสมือนโบนัสประจำเดือน โดยคิดค้นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับข่าวนี้โดยเฉพาะ

2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Poduct : GDP)

GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ คือมาตรชี้วัดขนาดของเศรษฐกิจโดยพิจารณาจากมูลค่าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยตัวเลขที่ประกาศออกมานี้ถึงแม้จะไม่ได้ให้ข้อมูลที่ครอบคลุมทุกแง่มุนของเศรษฐกิจแต่ก็สามารถบอกสุขภาพของเศรษฐกิจได้อย่างดี

โดยสามารถคำนวณได้ตามสูตรนี้: GDP = รายจ่ายเพื่อบริโภค + รายจ่ายเพื่อการลงทุน + รายจ่ายของรัฐบาล + (ส่งออก + นำเข้า) -ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ GDP โตก็จะอยู่เราราวๆ 1-2% ประเทศกำลังพัฒนา อาจจะสามารถโตได้ถึง 5-6%

- ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ GDP โตก็จะอยู่เราราวๆ 1-2%

- ประเทศกำลังพัฒนา อาจจะสามารถโตได้ถึง 5-6%


เทคนิคการวิเคราะห์ข่าว GDP

หากประกาศตัวเลข GDP สูงขึ้นเล็กน้อยหรือปกติ

- GDP ที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ USD มีแนวโน้มดีขึ้น

- คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหน้า เช่น USD/JPY, USD/CHF ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

- คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหลัง เช่น EUR/USD, GBP/USD ราคามีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง

- ในสภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง

- ธนาคารอาจมีแนวโน้มผลักดันนโยบายเพื่อเพิ่มอัตราดอกเบี้ย อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น

- หากดอกเบี้ยสูงขึ้น จะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากภาคธุรกิจลดการกู้ยืม และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะถดถอย

หากประกาศตัวเลข GDP ลดลงหรือหดตัว

- GDP ที่ลดลงอาจจะส่งผลให้ USD มีแนวโน้มอ่อนค่าลง

- คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหน้า เช่น USD/JPY, USD/CHF ราคามีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง

- คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหลัง เช่น EUR/USD, GBP/USD ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

- ในสภาวะเศรษฐกิจแย่ลง ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

- ภาคธุรกิจลดขนาดของธุรกิจ ลดคนงาน

- หาก GDP ติดลบกัน 2 ไตรมาสถือเป็นสัญญาณของการถดถอยทางเศรษฐกิจ

3. การประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Funds Rate)

การปรับอัตราดอกเบี้ยถือเป็นปัจจัยใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อตลาด Forex เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ โดยข้อมูลและตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายอย่าง จะบ่งชี้ว่าตอนนี้เศรษฐกิจของประเทศดีหรือไม่ดีอย่างไร ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค, การบริโภคและจับจ่ายในประเทศ, อัตราการว่างงาน, ตลาดซับไพรม์ และตลาดที่อยู่อาศัย

เทคนิคการวิเคราะห์ข่าว Federal Funds Rate

หากประกาศการอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

- ดอกเบี้ยสูงขึ้น จะส่งผลให้เงินไหลเข้าประเทศมากขึ้น

- จะส่งผลให้ USD มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

- USD แข็งค่าขึ้น ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มปรับตัวลดลง

หากประกาศการอัตราดอกเบี้ยลดลง

- ดอกเบี้ยลดลง จะส่งผลให้เงินไหลออกนอกประเทศมากขึ้น

- จะส่งผลให้ USD มีแนวโน้มอ่อนค่าลง

- USD อ่อนค่าลง ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

4. อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)

คือ เปอร์เซ็นต์ของกำลังแรงงานที่มีไม่มีงานทำ แต่ถือเป็นปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อตลาด Forex มากนัก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงจะเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ และคนมีงานทำน้อย อัตราการว่างงานก็คาดว่าจะสูงขึ้น ในทางตรงข้ามกัน เมื่อเศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่ดี และคนมีงานทำมากขึ้น อัตราการว่างงานก็อาจจะลดลง นอกจากนี้การว่างงานขึ้นอยู่กับความผันผวนตามฤดูกาล โดยทั่วไปแล้วจะสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว แต่งานก่อสร้างและอาชีพกลางแจ้งอื่น ๆ จะมีความต้องการต่ำลง ข่าว Unemployment Rate จะประกาศออกมาในช่วงกลางคืนวันศุกร์แรกของทุก ๆ เดือน เวลาประมาณ 19.30 น. ของประเทศไทย และเวลา 8.30 น. ตามเวลานิวยอร์ค

เทคนิคการวิเคราะห์ข่าว Unemployment Rate

หากประกาศการอัตราว่างงานเพิ่มขึ้น

- อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนมีงานทำน้อยลง บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจแย่ลง

- เศรษฐกิจที่แย่ลง อาจส่งผลให้ USD อ่อนค่าลง

- USD อ่อนค่าลง ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

หากประกาศการอัตราว่างงานลดลง

- อัตราการว่างงานลดลง เนื่องจากคนมีงานทำมากขึ้น บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเติบโตดีขึ้น

- เศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาจส่งผลให้ USD แข็งค่าขึ้น

- USD แข็งค่าขึ้น ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง

 

5. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers’ Index: PMI)

คือ ดัชนีซึ่งจัดทำโดยใช้การสำรวจจากผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคเอกชน ผ่าน 5 ตัวแปรหลัก คือ ยอดสั่งซื้อใหม่ ปริมาณสินค้าคงคลัง สายการผลิต การส่งสินค้าซัพพลาย และการจ้างงาน โดยคำถามที่ใช้จะรวมไปถึงสภาพทางธุรกิจ เพื่อใช้ในการบ่งชี้ถึงสภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและการบริการ ซึ่งในการอ่านตัวเลขดัชนีจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

- Manufacturing PMI ดัชนีภาคการผลิต
- Non-Manufacturing PMI หรือ Services PMI ดัชนีภาคการบริการ

เทคนิคการวิเคราะห์ตัวเลขดัชนี PMI

หากตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อออกมาสูง

- ค่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่สูงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนว่า สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคบริการโดยทั่วไปมีการขยายตัว

- ถือเป็นตลาดขาขึ้น หรือตลาดกระทิงสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวต่ำลง

หากตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อออกมาต่ำ

- ค่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนว่า สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคบริการโดยทั่วไปมีการหดตัว

- ถือเป็นตลาดขาลง หรือตลาดหมีสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวสูงขึ้น

6. ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI)

คือ ตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อมาบริโภคเป็นประจำจากมุมมองของผู้บริโภค โดยการนำตัวเลขในปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาในปีที่กำหนดไว้เป็นปีฐาน ซึ่งตัวเลขที่ออกมาจะสามารถนำมาใช้วัดหลักของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มการจัดซื้อได้ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่ได้รวมอาหารสดและพลังงาน จะถูกเรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน

เทคนิคการวิเคราะห์ตัวเลขดัชนี CPI

หากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคออกมาต่ำ

- ค่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่สูงขึ้น สะท้อนว่า ประเทศนั้น ๆ กำลังเกิดภาวะเงินเฟ้อ

- ถือเป็นตลาดขาขึ้น หรือตลาดกระทิงสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวต่ำลง

 

หากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคออกมาต่ำ

- ค่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ต่ำลง สะท้อนว่า ประเทศนั้น ๆ กำลังเกิดภาวะอุปสงค์ของผู้บริโภคลดลง และภาวะเงินฝืด

- ถือเป็นตลาดขาลง หรือตลาดหมีสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวสูงขึ้น

 

ดังนั้น ตัวเลข CPI ที่ดีส่วนใหญ่จึงควรอยู่ใน “ระดับปานกลาง” ที่แสดงถึงอัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสม ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป

7. ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index: PPI)

คือ ดัชนีราคาที่คํานวณขึ้นเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและวัตถุดิบที่ผู้ผลิตได้จำหน่ายโดยเฉลี่ย แรงกดดันเงินเฟ้อที่มาจากฝั่งผู้ผลิต ภาวะการค้าของประเทศ และสภาพเศรษฐกิจของภาคการผลิตโดยรวมของประเทศ ซึ่งคำนวณได้จากการนำตัวเลขที่ผู้ผลิตได้รับช่วงเวลาหนึ่งเปรียบเทียบกับช่วงเวลา ณ ปีฐาน ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิตที่ไม่ได้รวมอาหารสดและพลังงาน จะถูกเรียกว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เนื่องจากส่งผลสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ อีกทั้ง ดัชนีนี้จะถูกประกาศควบคู่กับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หากตัวเลข PPI ที่ถูกประกาศออกมาก่อนตัวเลข CPI มีค่าสูง มักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย

เทคนิคการวิเคราะห์ตัวเลขดัชนี PPI

หากตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตออกมาสูง

- ค่าดัชนีราคาผู้ผลิตที่สูงขึ้น สะท้อนว่า ประเทศนั้น ๆ กำลังเกิดภาวะเงินเฟ้อที่มาจากฝั่งผู้ผลิต ซึ่งคิดเป็นส่วนใหญ่ของภาวะเงินเฟ้อโดยรวม

- ถือเป็นตลาดขาขึ้น หรือตลาดกระทิงสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวต่ำลง

หากตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตออกมาต่ำ

- ค่าดัชนีราคาผู้ผลิตที่ต่ำลง สะท้อนว่า ประเทศนั้น ๆ กำลังเกิดภาวะเงินฝืด

- ถือเป็นตลาดขาลง หรือตลาดหมีสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวสูงขึ้น

 

ดังนั้น ตัวเลข PPI ที่ดีส่วนใหญ่จึงควรอยู่ใน “ระดับปานกลาง” ที่แสดงถึงอัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสม ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป

8. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI)

คือ ดัชนีที่แสดงถึงทัศนคติและความรู้สึกของผู้บริโภคต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตนเองในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีนี้จะมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับอัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ รายได้ที่แท้จริง และดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ดังนั้น หากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นว่า ธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มที่ดี ผู้บริโภคก็จะมีการใช้จ่ายและลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นตามไปด้วย ขณะเดียวกัน หากผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในธุรกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน

ดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จะประกาศทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลในภาคครัวเรือนเดือนปัจจุบัน


เทคนิคการวิเคราะห์ตัวเลขดัชนี CCI

หากตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคออกมาสูง

- ค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนว่า ภาพรวมเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มขาขึ้น

- ถือเป็นตลาดขาขึ้น หรือตลาดกระทิงสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวต่ำลง

หากตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคออกมาต่ำ

- ค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนว่า ภาพรวมเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มขาลง

- ถือเป็นตลาดขาลง หรือตลาดหมีสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวสูงขึ้น
 

9. ดัชนียอดค้าปลีก (Retail Sales)

เป็นดัชนีที่ใช้วัดค่าการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายอดขายทั้งหมดในระดับการค้าปลีก ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญมากที่สุดที่บ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภค เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มของเศรษฐกิจในปัจจุบัน และคาดการณ์เศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งคิดเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับดัชนียอดค้าปลีกที่ไม่รวมการซื้อรถ จะถูกเรียกว่า ดัชนียอดค้าปลีกพื้นฐาน (Core Retail Sales)

เทคนิคการวิเคราะห์ตัวเลขดัชนี Retail Sales

หากตัวเลขดัชนียอดค้าปลีกออกมาสูง

- ค่าดัชนียอดค้าปลีกที่สูงเกินคาด สะท้อนว่า สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตจะมีแนวโน้มขยายตัว

- ถือเป็นตลาดขาขึ้น หรือตลาดกระทิงสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวต่ำลง

หากตัวเลขดัชนียอดค้าปลีกออกมาต่ำ

- ค่าดัชนียอดค้าปลีกที่ต่ำเกินคาด สะท้อนว่า สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตจะมีแนวโน้มหดตัว

- ถือเป็นตลาดขาลง หรือตลาดหมีสำหรับสกุลเงิน USD

- นั่นหมายความว่า ราคาทองคำจะมีการปรับตัวสูงขึ้น

 

จากตัวเลขสำคัญทั้ง 9 ตัวนี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ตลอดจนค่าเงินของแต่ละประเทศ รวมถึงราคาทองคำด้วยเช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนที่ต้องการลงทุนใน Forex รวมถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ จึงควรติดตามตัวเลขเหล่านี้ไว้ โดยเฉพาะตัวเลขของฝั่งสหรัฐอเมริกา เนื่องจากค่าเงิน USD ถือเป็นสกุลเงินหลักสำหรับการเทรด Forexอย่างไรก็ตาม ถึงแม้การประกาศตัวเลขต่าง ๆ จะบ่งชี้ว่า ราคาจะขึ้นหรือลง แต่มันก็อาจไม่ได้เป็นไปตามนั้นเสมอไป เพราะการขึ้นลงของราคายังขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ดังนั้น นักลงทุนจึงควรติดตามข่าวสารอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย อาทิ แถลงการณ์ของประธานธนาคารกลาง (เฟด) ปัจจัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมของโลก รวมถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศ เป็นต้น

โดยนักลงทุนไม่ต้องเสียเวลาวิเคราะห์ข่าวเอง เพราะสามารถติดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจข้างต้น ข่าวสารสำคัญ รวมถึงมีบทวิเคราะห์ทางเทคนิคเชิงลึกของสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ทางทีมงาน Fxtoday ได้จัดเตรียมไว้ โดยข้อมูลทั้งหมดนี้ สามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ Fxtoday.news หวังว่า ข้อมูลในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อนักลงทุนทุกท่าน
____________________________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: Forex News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Technical Analysis

Tags:

Forex News

TECHNICAL ANALYSIS