เตรียมรับมือความผันผวนตลาดสัปดาห์นี้ นักลงทุนจับตาตัวเลข CPI และผลการประชุม FED

เตรียมรับมือความผันผวนตลาดสัปดาห์นี้ นักลงทุนจับตาตัวเลข CPI และผลการประชุม FED
Create at 1 year ago (Feb 16, 2022 17:08)

ในวันศุกร์ที่ผ่านมา มีรายงานตัวเลข Non Farm (การจ้างงานนอกภาคการเกษตร) ในเดือนมกราคม ได้สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับนักลงทุนในตลาดทั่วโลกอยู่พอสมควร โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 467,000 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ยิ่งไปกว่านั้น ตัวเลขการจ้างงานฯ ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมที่ถูกปรับใหม่พบว่ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 709,000 ตำแหน่ง

อย่างไรก็ตาม ตลาดในช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดที่นักลงทุนยังไม่มั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจของอเมริกาว่าจะเป็นอย่างไรต่อ เมื่อตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าจะได้ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.7% มาชดเชย แต่นักลงทุนบางกลุ่มก็ยังคงสับสนว่าตกลงแล้วเศรษฐกิจอเมริกาเติบโตขึ้นหรือกำลังชะลอตัวกันแน่ ดังนั้นพวกเขาจึงตั้งใจว่าจะให้ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ ที่จะประกาศในวันพฤหัสบดี และตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากมหาลัยมิชิแกน ที่จะประกาศในวันศุกร์ เป็นตัวตัดสินนั่นเอง

บรรยากาศในตลาดการลงทุนโดยภาพรวมตอนนี้ ยังคงมีความผันผวนปกคุมตลาด การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี และการประกาศของธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) ที่จะเปลี่ยนนโยบายการเงินในปีนี้ให้ตึงตัว ทั้งหมดทั้งมวลก็ยังคงทำให้ตลาดหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเนื่องจากแรงเทขาย หุ้นของบริษัทชื่อดังสร้างประวัติศาสตร์ถูกเทขายมากที่สุดครั้งแรก จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่สัปดาห์นี้นักลงทุนควรจับตาดูรายงานผลประกอบการของบริษัทที่มีชื่อเสียงอื่นๆ เช่น Pfizer (NYSE:PFE) Amgen (NASDAQ:AMGN) Coca-Cola (NYSE:KO), PepsiCo (NASDAQ:PEP) และ Kellogg (NYSE:K)

SPX Daily

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา S&P500 สามารถวิ่งกลับขึ้นมาได้ 0.52% ตลอดทั้งสัปดาห์ถือว่ายังรักษาขาขึ้นเอาไว้ได้ 1.55% ลักษณะการวิ่งของกราฟS&P500 ตอนนี้กำลังสร้างรูปธงขาขึ้น ต่อจากเทรนด์ขาลงที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าถ้าสามารถสร้างรูปแบบธงนี้ได้ ก็สามารถมองว่าจุดนี้คือตำแหน่งไหล่ขวาของรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ซึ่งความเป็นไปได้เดียวที่ขาขึ้นจะกลับมามีกำลังคือต้องขึ้นยืนเหนือเส้นแนวรับให้ได้ (เส้นสีเหลือง)

กลุ่มหุ้นที่วิ่งขึ้นมากที่สุดในสัปดาห์ที่แล้วคือกลุ่มพลังงาน ที่สามารถวิ่งขึ้นมาได้เกือบ 5% ตามมาด้วยกลุ่มการเงิน (3.56%) และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 3.54% ในขณะเดียวกัน กลุ่มที่ปรับตัวลดลงคือกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคม -1.58% เหตุการณ์ที่สร้างแรงกดดันให้กับตลาดหุ้นมากที่สุดในสัปดาห์ที่แล้วคือรายงานผลประกอบการของบริษัทเมต้า (NASDAQ:FB) ที่สร้างความผิดหวัง จนทำให้หุ้นบริษัทร่วงลง 26%

นับเป็นครั้งแรกของหุ้นเฟซบุ๊กที่ร่วงลงหนักขนาดนี้ ประเด็นที่นักวิเคราะห์เห็นตรงกันว่ามีส่วนกับขาลงครั้งนี้มากที่สุดคือนโยบายความเป็นส่วนตัวใหม่ของระบบปฏิบัติการ iOS ของบริษัทแอปเปิล (NASDAQ:AAPL) ที่สร้างความยุ่งยากให้กับการยิงโฆษณาไปยังผู้บริโภคอย่างแม่นยำ ซึ่งเราก็ล้วนทราบกันดีว่าเฟซบุ๊กเป็นบริษัทที่พึ่งพารายได้จากการฝากโฆษณาเป็นหลัก

FB Weekly TTM

รายงานผลประกอบการเมื่อวันพฤหัสบดีส่งหุ้นเฟซบุ๊กร่วงลงมาถึงแนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์ ต่อให้ตอนนี้หุ้นเฟซบุ๊กจะสามารถดีดตัวกลับขึ้นจากแนวรับนี้ได้ แต่นักลงทุนสายเทคนิคก็จะมองว่าเป็นเพียงการย่อขึ้นเพื่อสร้างไหล่ขวาของรูปแบบหัวไหล่เท่านั้น

ตลาดพันธบัตรก็กำลังส่งสัญญาณรับการมาถึงของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เมื่อกราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีเมื่อวันศุกร์สามารถขึ้นยืนเหนือ 1.900% ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2019

UST 10Y Daily

จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค กราฟอัตราผลตอบแทนฯ อายุ 10 ปีสามารถทะลุกรอบสามเหลี่ยมสมมาตรขึ้นไปได้แล้ว ยิ่งเป็นการยืนยันว่ากราฟมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้อีกในอนาคต

Dollar Daily

อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่แล้วดอลลาร์สหรัฐกลับอ่อนค่าลง การอ่อนแรงครั้งนี้ทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐได้พบกับแนวรับของกรอบราคาขาขึ้นระยะยาวทองคำแม้จะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ยังอยู่ในกรอบของแนวโน้มขาลง

Gold Daily

พฤติกรรมของราคาทองคำในสัปดาห์ที่แล้วก่อให้เกิดกรอบราคาขาขึ้นระยะสั้น ที่ตามมาหลังจากการเทขายสามวันติดต่อกัน หากสุดท้ายแล้ว ทองคำหลุดกรอบขาขึ้นนี้ลงมา นั่นจะหมายถึงสัญญาณการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ

ราชาสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์จุดไฟแห่งความหวังเล็กๆ ให้กับเหล่าผู้ศรัทธา ด้วยการกลับขึ้นมายืนเหนือ $40,000

BTC/USD Daily

ขาขึ้นของบิทคอยน์กำลังทดสอบบริเวณด้านบนของกรอบราคาขาลง การทดสอบครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สี่ของแรงขาขึ้น หลังจากขาลงที่กินระยะเวลายาวนานมาตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายนมาจนถึงปัจจุบัน ขาลงระลอกนี้เป็นได้ทั้งรูปแบบ Double-top ใหญ่ และรูปแบบหัวไหล่ ขาขึ้นในตอนนี้ถือว่าเร็วไปที่จะตัดสินได้ว่าแนวโน้มขาขึ้นได้กลับคืนสู่ตลอดแล้ว นักลงทุนยังคงต้องเฝ้าดูความเป็นไปได้ที่จะกลับไปยัง Supply Zone ที่ $29,136

Tags:

Forex News

TECHNICAL ANALYSIS